คำแนะนำการส่งบทความ
การเตรียมต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์บทความต้องพิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด (Microsoft word) ใช้อักษร TH SarabhanPSK กระดาษขาว B5 ตั้งค่ากระดาษหน้าเดียว โดยเว้นหัวกระดาษ 2 เซนติเมตร ท้ายกระดาษ 2.5 เซนติเมตร กั้นซ้าย 2 เซนติเมตร กั้นขวา 1.5 เซนติเมตร พิมพ์เว้นวรรคหรือช่องว่าง 1 เคาะ ระยะห่างบรรทัด 1 เท่าปกติ และจัดข้อความกระจายแบบไทย (Thai Distributed)
วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์กำหนดให้บทความมีความยาวอยู่ระหว่าง 8-15 หน้ากระดาษ โดยมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 8 หน้า และไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ B5 โดยเนื้อหารูปภาพและตาราง กรณีที่บทความไม่เป็นไปตามกำหนด กองบรรณาธิการจะไม่รับพิจารณา
การพิจารณาบทความ
1. บทความที่ตีพิมพ์ลงวารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์ต้องเป็นบทความใหม่ที่อยู่ในขอบเขตสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ทั่วไป (General Social Sciences) ศิลปะทั่วไปและมนุษยศาสตร์ (General Arts and Humanities) รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (Political Science and Public Administration) ภาษาและวรรณกรรม (Language and Literature) และการศึกษา (Education) และหรือที่เกี่ยวข้องกับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นี้
2. บทความต้องไม่เคยพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น ๆ
3. บทความต้องผ่านการพิจารณาและประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านสาขานั้นหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง จากทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาอย่างน้อย 3 คน ซึ่งผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blind peer review)
4. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นข้อคิดของผู้เขียนเท่านั้น และผู้เขียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลทางกฎหมาย ใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากบทความนั้น
5. บทความที่ตีพิมพ์ มี 3 ประเภท ดังนี้
5.1 บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่มีการนำเสนอผลการศึกษา หรือการค้นคว้าอย่างมีระบบ ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของการวิจัย กรอบแนวคิดในการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
5.2 บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความที่มีการนำเสนอความรู้ทั่วไปที่เขียนขึ้นจากการสังเคราะห์ พร้อมทั้งเสนอความคิดเห็นของผู้เขียนที่มีประโยชน์แก่ผู้อ่าน ประกอบด้วยบทนำ เนื้อหา และสรุป
5.3 บทความวิจารณ์ (Review Article) เป็นบทความที่วิจารณ์หนังสือและการนำเสนอความคิดเห็นของผู้เขียนที่มีประโยชน์แก่ผู้อ่าน ประกอบด้วยภาพปกหนังสือ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ เนื้อหา และข้อเสนอแนะแนวทางการเลือกหนังสือ
การส่งบทความ
ผู้เขียนบทความต้องส่งแบบรับรองประกอบการพิจารณาบทความมาพร้อมกับบทความ ดังนี้
1. แบบเสนอต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ (เอกสาร 4)
2. แบบรับรองบทความวิจัยของอาจารย์ที่ปรึกษา (เอกสาร 5 กรณีนักศึกษา)
3 แบบตรวจสอบบทความ (เอกสาร 6 หรือ เอกสาร 7 หรือ เอกสาร 8 ตามลักษณะบทความ)
หากรูปแบบการพิมพ์บทความไม่เป็นไปตามกำหนดของการเตรียมต้นฉบับและแบบฟอร์มบทความวิจัย หรือบทความวิชาการ รวมทั้งไม่นำส่งแบบรับรองดังกล่าว กองบรรณาธิการจะไม่รับพิจารณาบทความ