ความคาดหวังต่อการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ความคาดหวัง, อีเลิร์นนิง, ออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาความคิดและความคาดหวังต่อการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2) เพื่อเปรียบเทียบความคาดหวังต่อการเรียนออนไลน์ ของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยจำแนกตามเพศ โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาภาคปกติ ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในปีการศึกษา 2563 จาก 18 สาขาวิชา จำนวน 230 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคาดหวัง ซึ่งมีการหาคุณภาพเครื่องมือโดยการหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน และมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติเชิงอนุมานที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
- ความคาดหวังต่อการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ( = 4.25, S.D. = 0.84)
- เมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังต่อการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยจำแนกตามเพศ พบว่า นักศึกษาที่มีเพศต่างกัน มีความคาดหวังต่อการเรียนออนไลน์ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักศึกษา ที่มีเพศต่างกัน มีความคาดหวังต่อการเรียนออนไลน์ ไม่แตกต่างกันทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. (2563). โควิด-19 คือ
อะไร?. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 2563, จาก
https://www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge-2/covid19is/
รมิตา วารีย์. (2546). ความคาดหวังของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอน
ศาสนาอิสลามในจังหวัดกระบี่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
สุเนตร สืบค้า. (2552 ). ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนผ่านเว็บด้วยโปรแกรมมูเดิล (Moodle
e-Learning). (สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้).
TSIS. (2563). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางสำเร็จรูป. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 2563, จาก