แนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์การปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • บวร สมบัติธีระ สถานีตำรวจภูธรกลางดง

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์, การปฏิบัติงาน, ข้าราชการตำรวจ,

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาพลักษณ์การปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรกลางดง และเพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์การปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรกลาดง กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตในพื้นที่ตำบลกลางดง และตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 387 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์    แนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์การปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรกลางดง มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปข้อมูลเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา พบว่า ระดับภาพลักษณ์การปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจ ภูธรกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านการบริการทั่วไป มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาด้านการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา และด้านการควบคุมและจัดการจราจร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ

แนวทางการส่งเสริมภาพลักษณ์การปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า 1) ผู้บังคับบัญชาควรส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ตำรวจออกพบปะและสื่อสารกับประชาชนในชุมชนเพื่อรับฟังปัญหาและนำมาปรับปรุงการปฏิบัติงาน 2) ผู้บังคับบัญชาควรสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการบริการประชาชน 3) ผู้บังคับบัญชาควรจัดให้มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยและเพียงพอ                     ในการปฏิบัติหน้าที่

References

กษิดิศ เทียร์กสีบุญ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของตำรวจภูธรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), น. 204-213.

กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา. (2566). ผลคะแนนแผนการตรวจราชการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา ประจำปี 2566. นครราชสีมา: กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนครราชสีมา.

จันจิรา ไชยวรรณ์. (2558). คุณภาพการให้บริการประชาชนของสถานีตำรวจภูธรเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

จุรีรัตน์ เสนาะกรรณ. (2562). กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในยุคประเทศไทย 4.0. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(1), น. 12-23.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (7). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ธีรเมธ ณ วิเชียร, ศิริชัย เพชรรักษ์ และวราภรณ์ ทรัพย์รวงทอง. (2563). การให้บริการประชาชนตามนโยบายสถานีตำรวจเพื่อประชาชนสถานีตำรวจภูธรลำสนธิ จังหวัดลพบุรี. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 3(3), น. 23-30.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับงานวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น.

พงศ์พล สมบูรณ์, เสาวลักษณ์ นิกรพิทยา และสิทธิพรร์ สุนทร. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการบังคับใช้กฎหมายจราจรที่มีต่อภาพลักษณ์ของตำรวจจราจรสถานีตำรวจ นครบาลเทียนทะเลกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 10(1), น. 164-177.

พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565. (16 ตุลาคม 2565). ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่ 139 ตอนที่ 64ก.

วิทยา อำนวย. (2565). ภาพลักษณ์การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรบางมะเดื่อ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สถานีตำรวจภูธรกลางดง. (2556). สมุดคุมสถิติการร้องเรียน. นครราชสีมา: สถานีตำรวจภูธรกลางดง.

_______. (2566). ข้อมูลหน่วยงาน. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565, จาก https://klangdong. nakhonratchasima.police.go.th/

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2560). แผนปฏิบัติราชการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565, จาก https://www.royalthaipolice.go.th/downloads/plan62.pdf

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2566). โครงสร้างข้อมูลสถิติจำนวนประชากร. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565, จาก https://www.bora.dopa.go.th/home/

เอกนิษฐ ด่านพิทักษ์ศาสน์. (2564). แนวทางการพัฒนาข้าราชการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ตยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 30(1), น. 15-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-19