การปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในยุคนิวนอร์มอล กรณีศึกษา บ้านกอก ตำบลละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • อัมรินทร์ สุวรรณดี หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การปรับตัว เกษตรกร หอมแดง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาการปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในยุคนิวนอร์มอล บ้านกอก ตำบลละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ 2. วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในยุคนิวนอร์มอล บ้านกอก ตำบลละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และ 3. เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคการปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในยุคนิวนอร์มอล บ้านกอก ตำบลละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก (indepth interview) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ผู้ใหญ่บ้าน 2. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 3. คณะกรรมการหมู่บ้าน 4. เกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง และ 5. นักวิชาการด้านเกษตร แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสาร วรรณกรรม และแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาประเด็นการปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในยุคนิวนอร์มอล พบว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด - 19 เป็นสิ่งที่เกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงต้องเตรียมพร้อมรับมืออยู่เสมอ การเรียนรู้และเข้าใจตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม ประเด็นปัญหาและอุปสรรคการปรับตัวของเกษตรกร ผู้ปลูกหอมแดงในยุคนิวนอร์มอล พบว่า ราคาผลผลิตตกต่ำส่งผลให้รายได้ลดลง จากเดิมที่เกษตรกรเคยขายผลผลิตได้ในตลาดปกติ แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ตลาดทั้งในประเทศและส่งออกถูกปิดตัว พ่อค้าคนกลางหายไป ซึ่ง ส่งผลให้ราคาผลผลิตตกต่ำลง อีกทั้งช่องทางการจัดจำหน่ายผลผลิตจากเกษตรกรไปยังผู้บริโภคทางไกลเกิดความติดขัด และประเด็นแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคการปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงในยุคนิวนอร์มอล พบว่า ควรใช้ความเข้าใจตนเองเพื่อปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา มีความรับผิดชอบ สามารถบริหารจัดการเองตัวเอง ช่างสังเกตเมื่อเห็นความผิดปกติใด ๆ จะได้ทำการรักษาหรือแก้ไขได้มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค มีมนุษย์สัมพันธ์และมีทักษะในการเข้าหาสังคมเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

References

กรมวิชาการเกษตร. (2558). ฐานข้อมูลของศูนย์สารสนเทศ : องค์ความรู้เรื่องหอมแดง. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม

, จาก http://www.doae.go.th/plant/shallot.html.

จุมจินต์ สลัดทุกข์. (2546). การปรับตัวของพนักงานต่างชาติต่อบริบทการทำงานแบบไทย. สืบค้นเมื่อ 13

กรกฎาคม 2564, จาก file:///C:/Users/Acer/ Downloads/ DigitalFile110660.pdf

นายแพทย์ชูทิตย์ ปานปรีชา. (2538). การปรับตัวของพนักงานต่างชาติต่อบริบทการทำงานแบบไทย. สืบค้นเมื่อ

กรกฎาคม 2564, จาก https://doi.nrct.go.th

ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และทัศนา ทองภักดี. (2543). การปรับตัวของพนักงานต่างชาติต่อบริบทการ

ทำงานแบบไทย. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564, จาก https://doi.nrct.go.th

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2545). การปรับตัวของพนักงานต่างชาติต่อบริบทการทำงานแบบไทย. สืบค้นเมื่อ 15

กรกฎาคม 2564, จาก ThaiJohttps://so03.tci-thaijo.org

สุปรีดา อดุลยานนท์. (2564). วัฒนธรรมการดําเนินชีวิตวิถีใหม่ร่วมกับโควิด - 19 ชีวิตวิถีใหม่คนไทยเมื่อต้องอยู่กับ

โควิดแบบมาราธอน วันที่ 6 มกราคม 2564. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564,

จาก https://www.matichon.co.th/ lifestyle/news_2515461

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2556). การประเมินผลกระทบทางสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกัน

ตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัด

อุตรดิตถ์. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564, จาก https://so02.tci-thaijo.org

Bernard. (1960). การปรับตัว. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564, จาก http://dept.npru.ac.th/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-16