การแก้ไขปัญหาด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ

ผู้แต่ง

  • อชิตพล พงษ์สุภา โรงเรียนบ้านหนองผักแว่น

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ แบบฝึกทักษะ ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 คน โรงเรียนบ้านหนองผักแว่น อำเภอ บำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ 3. แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านสะกดคำและการเขียนสะกดคำ 4. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ รูปแบบที่ใช้ในการทดลองแบบกลุ่มทดลองหนึ่งกลุ่มมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และค่าสถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระต่อกัน (Dependent Samples t-test)

            ผลการวิจัยพบว่า

  1. ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            2. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

References

ชนากานต์ ขำดำรงเกียรติ, ชมพูนุท เมฆเมืองทอง และสุรกานต์ จังหาร. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านตัวพินอิน ภาษาจีน โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ ประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 15(3), น. 88.

ชิดชนก เชิงเชาว์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. ปัตตานี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

นิจพร จันทรดี, โสภี อุ่นทะยา และธนานันท์ ตรงดี. (2558). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาจีน เพื่อ ความเข้าใจด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารช่อพะยอม, 25(1), น. 134.

พิมลพร พงษ์ประเสริฐ. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษะ. (วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

วราภรณ์ จันดำ. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาจีนด้านทักษะการอ่านตัวพินอินโดยใช้รูปแบบ กิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

วราภรณ์ จันดำ, อรัญ ซุยกระเดื่อง และณัฏฐชัย จันทชุม. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาจีนด้าน ทักษะการอ่านตัวพินอิน โดยใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของฮันเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(1), น. 27.

วัชรา เล่าเรียนดีและคณะ. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับ คุณภาพ การศึกษา. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.

สถาบันภาษาไทย. (2565). คู่มือการดำาเนินงานขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ภาษาไทยปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สุจิราพร บุดดีอ้วน. (2564). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนประโยคของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนบ้านหนองบัวงาม สังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร).

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2565). แนวการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอย ทางการเรียนรู้และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2566, จาก http://academic.obec.go.th/web/images/document/1658296354_d_1.pdf

อัชฌา ชื่นบุญ และชุติมา แสงดารารัตน์. (2560). ความผาสุกทางจิตใจ และบรรยากาศในการเรียนที่ส่งผลต่อผล การเรียนรู้ของนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9, น. 193.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28