การพัฒนาแผนที่แหล่งเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี
คำสำคัญ:
แหล่งเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ ไท-ยวน วัฒนธรรมและประเพณีบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาแผนที่แหล่งเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบริบทชุมชนที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี ของหมู่บ้านไท-ยวน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 2. เพื่อพัฒนาแผนที่แหล่งเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี ของหมู่บ้านไท-ยวน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ หาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า ข้อมูลบริบทชุมชนที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณี ของหมู่บ้านไท-ยวน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ที่ยังคงมีการปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ เทศมหาชาติ การแห่กัณฑ์หลอน การกวนข้าวยาคู ตานก๋วยสลาก ตานขันข้าว ปอยข้าวสัง การบวงสรวงพระยาสี่เขี้ยว และพัฒนาแผนที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณีของหมู่บ้านไท-ยวน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา การพัฒนาแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม GIS และจัดทำข้อมูลด้านศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี ของหมู่บ้านไท-ยวน อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา บันทึกเป็นคลิปวีดิทัศน์นำไปใส่ในแผนที่โดยใช้ QR Code เพื่อสแกนอ่านข้อมูลด้านศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณีของชาวไท-ยวนมีข้อมูลนำ เสนอเป็นวีดิทัศน์ และนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ผลการประเมินความพึงพอใจการใช้แผนที่อิเล็กทรอนิกส์พบว่า ความพึงพอใจในสื่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67 S.D. = .47) มีองค์ประกอบโดยรวมที่สวยงาม และเนื้อหามีความครบถ้วนสมบูรณ์ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50 S.D. = .57) สามารถนำเนื้อหามาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เนื้อหาสนับสนุนการตัดสินใจ ตัวอักษรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.47 S.D. = .50, 57) สื่อมีความทันสมัย สื่อการใช้งานง่าย และเนื้อหาเข้าใจง่าย อยู่ในระดับมาก ( = 4.43 S.D. = .50, .56)
References
กรมสามัญศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและ
ท้องถิ่นเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กิ่งแก้ว อารีรักษ์ และคณะ. (2548). การจัดการห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิส ซัพพลาย.
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, คณิศร เต็งรัง, ราตรี ปิ่นแก้ว และวรัญญา เพ็ชรคง. (2545). คู่มือการเรียนรู้ที่ทำให้
งานชุมชนง่าย ได้ผลและสนุก. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,
_______. (2559). วิถีชุมชนเครื่องมือ 7 ชิ้น ที่ทำให้งานชุมชนง่าย ได้ผล และสนุก (พิมพ์ครั้งที่ 12). นนทบุรี:
สุขศาลา.
จารุวรรณ พรมวังขำเพชร. (2537). วิถีครอบครัวและชุมชน ชาวไทยวนสีคิ้ว จ.นครราชสีมา. กรุงเทพฯ:
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
ชุติรัตน์ เจริญสุขและอาคม เจริญสุข. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไท-ยวน
ชุมชนบ้านนาขุนแสน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2565 จาก
file:///C:/Users/HP/Downloads/cover%20in.pdf
ชุมพล รอดแจ่ม. (2555). เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. สืบค้นเมื่อ
ธันวาคม 2563, จาก http://www.rpu.ac.th/Library_web/doc/RC_RR/2555_
Account_Chumpon.pdf
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดำริ บุญชู. (2548). การใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา. วารสารวิชาการ, 8(1), น. 27-31.
ธเนศ ศรพรหม. (2561). การพัฒนาแผนที่อิเล็กทรอนิกส์แบบปฏิสัมพันธ์เพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว 9 วัดของจังหวัดอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://www.graduate.ubru.ac.th/ubru-journal/assets/onlinefile/1548059254.pdf
นาวา วงษ์พรม. (2560). แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
บริษัท คาร์แทรค เทคโนโลยี (ไทยแลนด์)จำกัด. (ม.ป.ป.) แผนที่นำทาง ด้วยระบบ GPS สิ่งจำเป็นคู่นักเดินทาง.
สืบค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน จาก https://www.cartrack.co.th/blog/aephnthiinamthaang-
dwyrabb-gps-singcchamepnkhuunakedinthaang
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันท์. (2557). การจัดการห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้ = Classroom and learning
resource management. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
ปรีดาพร ไวทยการ. (2554). การออกแบบแผนที่ชุมชนเชิงวัฒนธรรม : การศึกษาความสัมพันธ์ของมิติเวลาและ วิถีชีวิตชุมชนกาดหลวง จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563, จาก http://cmuir.cmu.ac.th/bitstream/6653943832/28280/2/mdad20954pv_abs.pdf
แผนที่ (ม.ป.ป.) สืบค้นเมื่อ 25 พฤสจิกายน 2565 จาก http://www.digitalschool.club/digitalschool/social1_1_1/social3_5/lesson5_1/page1.php
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). การใช้แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน.
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุมาลี สังข์ศรี และคณะ. (2548). การจัดการเรียนรู้ของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต : พิพิธภัณฑ์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุวิมล อิษฎากร. (2553). การศึกษาการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอไท-ยวน : กรณีศึกษาบ้านโนนกุ่ม
หมู่ที่ 2 .ตำบลมิตรภาพ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครราชสีมา)