อุดมการณ์งานมุ่งมั่นและบาดแผลคนวัยทำงาน: กรณีศึกษานวนิยาย เรื่อง “ยังไงฉันก็จะเลิกงานตรงเวลาค่ะ”
คำสำคัญ:
อุดมการณ์ การทำงาน ยังไงฉันก็จะเลิกงานตรงเวลาค่ะบทคัดย่อ
บทความเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอยู่สองประเด็น ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาอุดมการณ์งานมุ่งมั่นที่อยู่ในนวนิยายแปลเรื่อง ยังไงฉันก็จะเลิกงานตรงเวลาค่ะ และ 2. เพื่อศึกษาบาดแผลของคนวัยทำงานที่อยู่ในนวนิยายแปลเรื่อง ยังไงฉันก็จะเลิกงานตรงเวลาค่ะ โดยผู้วิจัยได้เลือกนำแนวคิดอุดมการณ์ และแนวคิดเศรษฐกิจทุนนิยมมาประยุกต์สร้างเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า อุดมการณ์งานมุ่งมั่นได้มีผลครอบงำความคิด พฤติกรรม และความรู้สึกของตัวละครในเรื่องนี้ โดยมีผลทำให้ตัวละครในเรื่องเกิดความมุ่งมั่นทุ่มเทให้แก่การทำงาน และสร้างภาวะความหวาดกลัวให้แก่การว่างงาน ทำให้ตัวละครต้องทุ่มเทให้กับงานที่ได้รับมอบหมาย ในขณะเดียวกันอุดมการณ์ดังกล่าวก็สร้างบาดแผลให้แก่คนวัยทำงานที่ทุ่มเทให้กับองค์กร ทำให้ตัวละครสูญเสียสมดุลชีวิตในด้านความสัมพันธ์ สุขภาพ และจะนำไปสู่การสูญเสียชีวิตได้ การศึกษาในครั้งนี้จึงได้แสดงให้เห็นอำนาจของอุดมการณ์ที่ได้ครอบงำสังคมเกี่ยวกับการทำงานของชาติญี่ปุ่นเอาไว้ ทำให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานอย่างหนักของคนประเทศญี่ปุ่น
References
คาเอรุโกะ อาเกโนะ. (2564). ยังไงฉันก็จะเลิกงานตรงเวลาค่ะ. แปลโดย ฉัตรขวัญ อดิศัย. กรุงเทพฯ: Biblio.
_______. (2564). คํานําสํานักพิมพ์. ใน ยังไงฉันก็จะเลิกงานตรงเวลาค่ะ. แปลโดย ฉัตรขวัญ อดิศัย. กรุงเทพฯ:
Biblio.
จุฑาภรณ์ หนูบุตร. (2553). ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทํางาน : กรณีศึกษา: โรงพยาบาลวิภาวดี.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นพดล บงกชกาญจน์. (2563). วิพากษ์แนวคิดทุนนิยมที่ปรากฏในลัทธิคอมมิวนิสต์. วารสารมหาจุฬาวิชาการ,
(2), น. 203-216.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2552). พจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
ฤทธิณัณฑ์ เชื้อทอง และรุจิระ โรจนประภายนต์. (2559). ค่านิยม อุดมการณ์ และรูปแบบการสื่อสารที่แสดงถึง
ลักษณะทางวัฒนธรรมของคนไทย. วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร, 21(29), น. 110-143.
วสันต์ ภูวภัทรพร. (2562). ประวัติลัทธิเศรษฐกิจก่อนยุคคลาสสิกส์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา. (2565). ทํางานหนักเกินไป ใช้ว่าจะสําเร็จ. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565, จาก
อัลธูแซร์, หลุยส์. (2529). อุดมการณ์และกลไกของรัฐทางอุดมการณ์. แปลโดย กาญจนา แก้วเทพ. กรุงเทพฯ:
สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
A. Heywood. (2012). Fascism. Political Ideologies: An Introduction. London: Palgrave.
Hall, Evans & Nixon. (2013). Representation: Cultural Representations and Signifying Practices.
London: SAGE.
Robert B. Denhardt. (2008). Theories of Public Organization. California: Thomson Wadsworth.