การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยทุนทางวัฒนธรรมวิถีชุมชนของกลุ่มผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ จากลูกจาก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทุนทางวัฒนธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทุนทางวัฒนธรรมวิถีชุมชนของกลุ่มผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากลูกจาก จังหวัดสุราษฎร์ธานี อาศัยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ และแบบสำรวจความคิดเห็นกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มผู้ถือครองทุนทางวัฒนธรรม เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำกลุ่มผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากลูกจาก เป็นต้น และ 2. กลุ่มผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากทุนทางวัฒนธรรม
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผ้ามัดย้อมจากใจ มีการจัดทำผลิตภัณฑ์จากทุนทางวัฒนธรรมที่มีในท้องถิ่นอย่างผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากลูกจาก อาทิ เสื้อผ้า กระเป๋า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรทางวัฒนธรรมกับคนในชุมชน โดยการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อย่างกระเป๋าจากผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ แสดงให้เห็นว่าการตั้งชื่อสินค้าในปัจจุบัน มีความเหมาะสม ราคาของสินค้าอยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งกระเป๋าใส่ใจได้รับความชื่นชอบมากที่สุดจากกลุ่มผู้บริโภค ทั้งนี้กลุ่มผู้บริโภคมีความคิดเห็นเพิ่มเติมที่ต้องการให้เพิ่มเติมสีสันและรูปแบบกระเป๋าที่เพิ่มมากขึ้น
แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทุนทางวัฒนธรรมวิถีชุมชนของกลุ่มผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากลูกจาก ควรมีการสื่อความหมายที่แสดงถึงเรื่องราวของทุนทางวัฒนธรรมที่มีในท้องถิ่นอย่างผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากลูกจาก เพื่อสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนขยายการรับรู้ให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐเข้ามาสนับสนุน
References
ชนาธินาถ ไชยภู. (2556). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายมัดย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกสะตอ
กรณีศึกษากลุ่มย้อมสีธรรมชาติบ้านคีรีวงศ์ อําเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภัทรานิษฐ์ สิทธินพพันธ์ และคณะ. (2557). การพัฒนาลวดลายผลิตภัณฑ์ต้นแบบผ้ามัดย้อมด้วยการย้อมจากสี
ธรรมชาติ, จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/jtir/article/view/42372.
ICOMOS. (1999). Cultural Tourism Charter: Principle and Guidelines for Managing Tourismat
Places of Cultural and Heritage Significanc, from
https://www.icomos.org/charters/tourism_e.pdf.
Jung, J. S. (2017). Making of Natural Dyeing Scarves by Tie-Dyeing Technique. MATEC Web of
Conferences, 108, 03006.
McKercher, Bob and du Cros, Hilary. (2002). Cultural Tourism: The Partnership between Tourism
and Cultural Heritage Management. New York: The Haworth Hospitality Press.
UNESCO. (2003). The convention for the safeguarding of intangible cultural heritage, from
http://www.unesco.org/new/en/culture/.
Westra, L., Scovazzi, T. (2003). The safeguarding of the intangible cultural heritage according to
the 2003 unesco convention: The case of the first nations of Canada, from
https://intergentes.com/the-safeguarding-of-the-intangible-cultural-heritage-according-to-
the-2003-unesco-convention-the-case-of-the-first-nations-of-canada/