รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักกีฬาฟุตซอล โรงเรียนราชวินิตบางเขน สู่ความเป็นเลิศ

ผู้แต่ง

  • ธัญวิชญ์ ไตรรัตน์ โรงเรียนราชวินิตบางเขน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักกีฬาฟุตซอล โรงเรียนราชวินิตบางเขน สู่ความเป็นเลิศ ดำเนินวิจัย มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักกีฬาฟุตซอล ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักกีฬาฟุตซอล ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักกีฬาฟุตซอล ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักกีฬาฟุตซอล ผลการวิจัย พบว่า

  1. ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน มีความต้องการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักกีฬาฟุตซอล ในระดับมากที่สุด
  2. รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักกีฬาฟุตซอล โรงเรียนราชวินิตบางเขน สู่ความเป็นเลิศ มีจำนวน 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักกีฬาฟุตซอล 2. การพัฒนาสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก 3. การส่งเสริม สนับสนุนและการจูงใจ 4. การจัดสวัสดิการและงบประมาณ 5. การสรรหาและคัดเลือก 6. การเสริมสร้างสมรรถนะของนักกีฬา 7. การสร้างความพร้อมให้กับนักกีฬา 8. การใช้วิทยาศาสตร์การกีฬา 9. การติดตามและประเมินผล
  3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักกีฬาฟุตซอล โรงเรียนราชวินิตบางเขน สู่ความเป็นเลิศ พบว่า โรงเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
  4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักกีฬาฟุตซอล โรงเรียนราชวินิตบางเขน สู่ความเป็นเลิศ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักกีฬาฟุตซอล โรงเรียนราชวินิตบางเขนสู่ความเป็นเลิศ ในระดับมากที่สุด ส่วนนักกีฬาฟุตซอลของโรงเรียนราชวินิตบางเขน ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันกีฬาฟุตซอลระหว่างโรงเรียนของกรมพลศึกษา ประเภท ก รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี และรุ่นอายุไม่เกิน 14 ปี และได้รับคัดเลือกให้เป็นนักกีฬาฟุตซอลอาชีพของสโมสรทุกคน

References

บงกช จันทร์สุขวงค์. (2560). รูปแบบการจัดการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศในโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬา

แห่งชาติ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

โยธิน ศรีโสภา. (2550). การพัฒนาระบบการประเมินผลด้วยวิธีดุลยภาพสาหรับคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏ. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

รดมยศ มาตเจือ. (2564). รูปแบบการบูรณาการความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการพัฒนานักกีฬาว่ายน้ําเยาวชนไทย

เพื่อความเป็นเลิศ. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). การขับเคลื่อนการศึกษามัธยมศึกษาไทยเพื่อการมีงานทํา

แห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

________. (2561). นโยบายสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้น

เมื่อ 2 มีนาคม 2564, จาก https://www.obec.go.th/archives/12738

อํารุง จันทวานิชและคณะ. (2556). โรงเรียนสมบูรณ์แบบ. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2564, จาก

http.//www.moe. go.th./main2/article/Perfect.school1.html.

Conrad, C. F. and Wilson, R. F. (1985). Academic Program Review. Washington, D.C.: Kogan Page.

Eisner, E. (1976). “Education Connoisseurship and Criticism : Their Form and Functions in

Educational Evaluation”. Journal of Aesthetic Education, 39(2), pp. 192–193.

Gomes, J. R. (2021). The Female Student-Athletes, and the Athletic Coaching Staff Members

Attitudes towards the Prospect of Implementing a Sport Psychologist in Division III

Athletics. (Master of Education, Cedar Cedar Crest College).

Hrincu. (1992). The concept of organizational effectiveness. (Doctor of Education, University of

Toronto)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26