การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา โดยใช้กลุ่มโรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
คำสำคัญ:
คุณภาพการศึกษา/กลุ่มโรงเรียนเป็นฐาน การพัฒนารูปแบบบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาโดยใช้กลุ่มโรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 การวิจัยดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็นการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาโดยใช้กลุ่มโรงเรียนเป็นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาโดยใช้กลุ่มโรงเรียนเป็นฐาน ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 197 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม จำนวน 3 ด้าน คือ 1. ด้านการส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา จำนวน 74 ข้อ 2. ด้านการพัฒนาคุณภาพ จำนวน 74 ข้อ 3. ด้านส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา จำนวน 35 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.21–0.88 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96, 0.98, 0.94 ตามลำดับ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 26 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ
การวิเคราะห์ความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index : PNI modified)
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาโดยใช้กลุ่มโรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 มี 3 องค์ประกอบหลัก 26 องค์ประกอบย่อย 167 รายการ
- ผลการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาโดยใช้กลุ่มโรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 พบว่า
2.1 รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาโดยใช้กลุ่มโรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 มี 3 องค์ประกอบหลัก 26 องค์ประกอบย่อย 167 รายการ
2.2 คู่มือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้กลุ่มโรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
- ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาโดยใช้กลุ่มโรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 พบว่า
3.1 รูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาโดยใช้กลุ่มโรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด
3.2 ผู้บริหารสถานศึกษาเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อรูปแบบการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาโดยใช้กลุ่มโรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
References
ชุลีกร สายเกียรติวัติ. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ในการดําเนินชีวิตอย่างพอเพียงสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา สํานักงานเขตพื้นที่
การศึกษประถมศึกษา พิจิตร เขต 2. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
พระฐตรฐ อธิปัญโญ (ศิลาศิลป์). (2560). การพัฒนารูปแบบโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ตามหลักวุฒิธรรม.
(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
วชิรดล คําศิริลักษณ์. (2559). “การพัฒนารูปแบบกิจกรรมเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สําหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น”. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(1), น. 97-105.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2565). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้น
พื้นฐาน (O-NET). สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2565, จาก
http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx.
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1. (2565). รายงานการวิเคราะหผลการทดสอบทาง
การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานและแนวทางการพัฒนาคุณภาพผูเรียนโดยใชผลการทดสอบเปนฐาน.
นครราชสีมา: สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล ปี 2560 (IMD 2017).
กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจําเป็น. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37. (2563). แผนปฏิบัติการประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563.
กลุ่มนโยบายและแผน. แพร่: สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2555). หลักการบริหารการศึกษา : ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา.
กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-05-26 (2)
- 2023-05-26 (1)