กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนมัธยมพระราชทาน เฉลิมพระเกียรติสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37

ผู้แต่ง

  • ธิดา เสมอใจ โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ เศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 ดำเนินการ 4 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง มีผลการวิจัย พบว่า 1. ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความต้องการบริหารจัดการศึกษาโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ในระดับมากที่สุดและเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2. กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาโดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ มี 7 กลยุทธ์หลัก 19 กลยุทธ์ย่อย 88 รายการ 3. โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติปฏิบัติตามรายการของกลยุทธ์ฯ ในระดับมากที่สุดทุกกลยุทธ์ 4. ผลการประเมินกลยุทธ์ พบว่า 4.1 นักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์มีคุณภาพชีวิตหลังการใช้กลยุทธ์ฯ สูงกว่าก่อนการใช้   กลยุทธ์ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.2 ผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกลยุทธ์ ฯ อยู่ในระดับมากที่สุด 4.3 สถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและนักเรียนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์และได้รับรางวัลในระดับชาติ

References

กล้า ทองขาว และนคร ตังคะพิภพ. (2558). “การบริหารจัดการการศึกษาเชิงพื้นที่” สารานุกรมการศึกษารวม

สมัย เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในโอกาสพระชมมายุ 5 รอบ

เมษายน 2558”. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา.

เก็จกนก เอื้อวงศและพิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2556). “หน่วยที่ 2 วิธีวิจัยทางการบริหารการศึกษา”, ใน ประมวลสาระ

ชุดวิชา 23721 การวิจัยทางการบริหารการศึกษา (หน่วยที่ 1-5 น. 2-15 ถึง 2-118). นนทบุรี: สาขาวิชา

ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฐิติวัจน์ พัฒนเจริญ. (2558). รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียงของทหารกองประจําการสังกัดกองทัพบก. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัย

ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์).

ธิดา เสมอใจ. (2560). คุณภาพชีวิตของนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ

สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37. น่าน: โรงเรียนมัธยมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติ.

วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม–มิถุนายน 2564)

พิสมัย ขวัญมา. (2562). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนสังกัดสํานักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

โยธิน ศรีโสภา. (2550). การพัฒนาระบบการประเมินผลด้วยวิธีดุลยภาพสําหรับคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ.

(วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ราชกิจจานุเบกษา. (2560 ก). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก วันที่ 6 เมษายน 2560.

วิภาพร มาพบสุข. (2545). การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สํานักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564).

กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2555). หลักการบริหารการศึกษา : ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา.

กรุงเทพ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

อภินันทิชัย แกระหัน. (2562). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสํานักงานคณะกรรมการ

การศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 -2579).

(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

Conrad, C. F. and Wilson, R. F. (1985). Academic Program Review. Washington, D.C.: Kogan Page.

Eisner, C. (1997). Children's Quality of Life Measures. Retrieved 1 February 2019, from

https://adc.bmj.com/content/77/4/350.short.

Haskins. D.E. (2004). Quality of Student Life and its Impact on Retention in a Higher Education

Institution. (Doctoral dissertation Tennessee State University)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26