การพัฒนาทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์คำคล้องจองประกอบภาพ โรงเรียนบ้านพระพุทธ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วรรณิภา เรียงกลาง โรงเรียนบ้านพระพุทธ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2

คำสำคัญ:

พัฒนาทักษะการพูด, เด็กปฐมวัย, คำคล้องจองประกอบภาพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้คําคล้องจองประกอบภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านพระพุทธ อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จํานวน 11 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้คําคล้องจองประกอบภาพ เพื่อพัฒนาทักษะด้าน การพูดของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 จํานวน 5 แผน 2. แบบทดสอบพัฒนาการทางด้านการพูด 3. แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมทางด้านการพูดสําหรับเด็กปฐมวัย 4. สื่อการสอนคำคล้องจองประกอบภาพ เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านการพูดสำหรับเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t–test for dependent samples ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้คําคล้องจองประกอบภาพเพื่อพัฒนาทักษะการพูด มีพัฒนาการด้านการพูดที่สูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรม โดยก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.00 และหลังการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.82 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.94 ซึ่งทำให้เห็นว่าทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้คําคล้องจองประกอบภาพมีพัฒนาการที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ .05

References

กมลรัตน์ คะนองเดช. (2554). สภาพปัญหาการใช้ภาษาไทยของเด็กปฐมวัยใน 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้. ยะลา:

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

กรมวิชาการ. (2540). หลักสูตรก่อนประถมศึกษา พุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.

กรมวิชาการ. (2541). แนวการจัดกิจกรรมและสื่อการเรียนการสอนก่อนปฐมศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2542). การเลี้ยงดูเด็กก่อนวัยเรียน 3 – 5 ขวบ. กรุงเทพ: โชติสุขการพิมพ์.

คณิศร ตรีผล. (2550). การใช้คําคล้องจองเพื่อพัฒนาความสามารถทางการพูดของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช).

เครือรัตน์ เรืองแก้ว. (2554). หนังสือชุดรักภาษาไทย “คําคล้องจอง” (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนา

พานิช

นนทพันธ์ ภักดีผดุงแดน. (2546). เราจะข้ามภพข้ามชาติ We shall overcome. กรุงเทพฯ: วี อินเตอร์ พริ้นท์.

ปานใจ จารุรีช. (2548). พฤติกรรมทางการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมคําคล้องจอง. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

กรมวิชาการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ

กระทรวงศึกษาธิการ.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2541). การวัดและประเมินแนวทางใหม่ : เด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สาขาการศึกษา

ปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภี วงศ์พลับ. (2555). การส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็กวัยอนุบาลโดยใช้หนังสือนิทาน. ฉะเชิงเทรา: ม.ป.ท.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28