ความพึงพอใจของหน่วยงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพกฎหมายที่มีต่อการพัฒนา ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตในรายวิชา การฝึกประสบการณ์วิชาชีพกฎหมาย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจของหน่วยงาน, การพัฒนาผลการเรียนรู้, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพกฎหมายบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของหน่วยงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพกฎหมายที่มีต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต และเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพกฎหมายให้สอดคล้องกับการเป็นบัณฑิตอันพึ่งประสงค์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในเก็บข้อมูลจากหน่วยงาน 20 หน่วยงานที่นักศึกษา 62 คนเข้าฝึกงาน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (x̄) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของหน่วยงานฝึกประสบการณ์วิชาชีพกฎหมายที่มีต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ พบว่า ภาพรวมทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.71, S.D. = 0.44) โดยด้านคุณธรรมจริยธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.86, S.D. = 0.34) และประเด็น มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น อยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.90, S.D. = 0.30) รองลงมาคือ มีจิตอาสา เสียสละ มีน้ำใจและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น อยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากัน (x̄ = 4.89, S.D. = 0.32) และพบว่านักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานทางด้านกฎหมายในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน โดยมีการบูรณาการความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติและได้รับความรู้ พัฒนาทักษะ เจตคติและประสบการณ์ในวิชาชีพกฎหมาย
References
นันทา เติมสมบัติถาวร, พัชราภรณ หงสสิบสอง และศิริลักษณ นรินทรรัตน. (2556). “คุณลักษณะที่พึงประสงค
ของนักศึกษาฝกงานสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากลที่สถานประกอบการตองการ”.
วารสารวิชาการและวิจัยมทร พระนคร ฉบับพิเศษ. ในการประชุมวิชาการมหาวิทยาลับราชมงคล
ครั้งที่ 5 (หนา 149-156). จาก http://journal.rmutp.ac.th/wp-content/uploads/2014/08/
Special-LiberalArt-Humanity-Tourist-18.pdf
นิภา วงษพิพัฒนพงษ, และ กรรณิการ เผือกนําผล. (2553). ความพึงพอใจของสถานประกอบการตอนักศึกษาฝก
ประสบการณวิชาชีพ สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัย
ราชภัฏรําไพพรรณี. จาก
http://www.social.rbru.ac.th/pageNew/research/budget%20year%2054/10.pdf
ราชกิจจานุเบกษา. (2535). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชา
นิติศาสตร พ.ศ. 2561. เลมที่ 135, ตอนพิเศษ 319 ง, 13 ธันวาคม 2561.
วิทูร กิจเครือ, ชลิตร มณีสุวรรณ และชนิดา พลอยสุกใส. (2552). ความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีตอ
นักศึกษาฝกงานวิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุร. สุพรรณบุรี: วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี.
วิไลวรรณ ศรีแสงออน. (2557). ศึกษาความคิดเห็นของสถานประกอบการที่มีตอนักศึกษาฝกงานเกี่ยวกับการ
ประเมินผลการเรียนรูจากประสบการณจริง ของแผนกวิชาคอมพิวเตอรธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี
ภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2557. ลพบุรี: วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี.
สุเทวี คงคูณ. (2556). ความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีตอ นักศึกษาฝกประสบการณวิชาชีพมหาวิทยาลัย
ราชภัฏศรีสะเกษ. จาก
http://clg.sskru.ac.th/clgpage/wpcontent/uploads/2014/07/research1.docx
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต. (2560). หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560. นครราชสีมา: คณะ
มนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
อดิศา เบญจรัตนานนท. (2560). “ความพึงพอใจของสถานประกอบการตอนักศึกษาฝกงานสาขาวิชาภาษาอังกฤษ
คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร”. วารสารวิทยบริการ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร, 28(2), น. 184-194.
Deita, H. C. H., และอาคม เผือกจันทึก. (2556). “คุณลักษณะที่พึงประสงคของนักศึกษาฝกงานสาขาวิชา
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจตามความตองการของสถานประกอบการ”. วารสารวิชาการศรีปทุม
ชลบุรี, 9(3), น. 27-33.