การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการจัดการเรียนการสอน ตามรูปแบบ T5 โมเดล ชุดภาษาและวัฒนธรรมจีน
คำสำคัญ:
การพัฒนาบทเรียน บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ภาษาและวัฒนธรรมจีน T5 Modelบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (online course) วิชาวัฒนธรรม ประเพณีจีน และศิลปะจีน เรื่อง ชุดภาษาและวัฒนธรรมจีนในรูปแบบ T5 Model 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ชุดภาษาและวัฒนธรรมจีน และการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ T5 Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 39 คน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 210130 วิชาวัฒนธรรม ประเพณีจีนและศิลปะจีน จำนวน 2 ห้องเรียน โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ชุดภาษาและวัฒนธรรมจีนจำนวน 6 เรื่อง แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการประเมินประสิทธิภาพ ค่าดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัยสรุปได้ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ชุดภาษาและวัฒนธรรมจีน มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ81.15/81.28 กลุ่มตัวอย่างมีดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 50.70 ความพึงพอใจต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ชุดภาษาและวัฒนธรรมจีน และการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ T5 Model ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4.14)
References
จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2555). อีเลิร์นนิงคอร์สแวร์ : แนวคิดสู่การปฏิบัติสําหรับการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงในทุก
ระดับ. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ซัลซาบีลา สาและ. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับ
โมเดล T5 แบบกระดาษที่มีต่อความสําเร็จของชิ้นงาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความรับผิดชอบต่อการ
เรียน และความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
(พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมเจตน์ อุระศิลป์ และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2554). การเปรียบเทียบมโนมติก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง พันธะเคมี
ตามโมเดลการเรียนรู้ T5 แบบกระดาษ โดยศึกษากับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนธารทอง
พิทยาคม. วารสารวิจัย มข, 1(1), น. 39-57.
สุนีย์ ศีลพิพัฒน์ และคณะ. (2550). การเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ชุดวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่าง
ประเทศโดยใช้ T5 Mode (รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.