ศิลปศึกษาท่ามกลางกระแสรูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
คำสำคัญ:
ศิลปศึกษา, รูปแบบการสอนในศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการปรับตัวของวงวิชาการศิลปศึกษา ท่ามกลางกระแสรูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาวงการศึกษาในทุกแขนงทั่วโลกตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยปัจจุบันวงวิชาการศิลปศึกษาในประเทศไทยมีการปรับตัวและพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21แต่กระบวนการปรับตัวและพัฒนาดังกล่าวยังเป็นไปภายใต้กรอบมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 และมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2558 รวมถึงระบบประกันคุณภาพการศึกษาโดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. และ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ. ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนภายใต้กรอบมาตรฐานเหล่านี้เต็มไปด้วยระเบียบข้อบังคับมากมาย การเรียนการสอนศิลปศึกษาจึงขาดความหลากหลายเชิงวิชาการ ไม่สามารถบูรณาการตามแนวคิดการสอนในศตวรรษที่ 21 ได้ ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอกระบวนการพัฒนาครูศิลปศึกษาด้วยรูปแบบการสอนในศตวรรษที่ 21 ไว้ในช่วงท้ายของบทความ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ใช้บัณฑิต และทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การเมืองในศตวรรษที่ 21 ต่อไป
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพชุมนุม สหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย จํากัด.
จตุพล ยงศร. (มกราคม-มิถุนายน 2560). “การสูญเปลาทางการศึกษาสงผลตอคุณภาพบัณฑิตของอุดมศึกษาไทย”. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 18(1): 2.จักรพงษ.
แพทยหลักฟา. (2545). “ศิลปศึกษาระบบการเรียนการสอนที่ตองพัฒนา”. พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ, บรรณาธิการ. ศิลปะ: ศิลปศึกษา. 94-95. กรุงเทพฯ : สันติศิริการพิมพ.
ฐานเศรษฐกิจ. (2563). บัณฑิตตกงานปญหาเรงดวนในตลาดแรงงานไทย. [ออนไลน]. แหลงที่มา: https://www.thansettakij.com/content/columnist/415736 [25 มกราคม 2563].
ทิศนา แขมมณี. (2552). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพแหง จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
พิบูลยมังกร. (2560). การศึกษาแนวคิดทางทัศนศิลปที่สงผลตอกระบวนการสอนทัศนศิลปศึกษา: กรณีศึกษา อารี สุทธิพันธุ. ปริญญานิพนธ สาขาศิลปวัฒนธรรมวิจัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. _______. อาจารยประจําสาขาศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. สัมภาษณ. 25 มกราคม 2563.
ภาวนา กิตติวิมลชัย. (กรกฎาคม-ธันวาคม 2561). “การศึกษาสภาพปจจุบันและปญญาในการบริหารหลักสูตรตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรใหมีคุณภาพกรณีศึกษามหาวิทยาลัยขอนแกน”. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 13(2): 121.
มาลี จิรวัฒนานนท. (2561). สะทอนคิดทัศนศิลปศึกษาสูการยอนคิดการศึกษาไทยเพื่อเสริมสรางการพัฒนามนุษย. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยหอการคาไทย.
วรพจน วงศกิจรุงเรือง และ อธิป จิตตฤกษ, ผูแปล. (2554). ทักษะแหงอนาคตใหม การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ Openworlds. วิริยะ ฤาชัยพาณิชย. (กุมภาพันธ-กรกฎาคม 2559). “เปดมุมมองปญหาการศึกษาไทยสูแนวทางพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ”. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 3(2): 7.
วีรยุทธ เพชรประไพ. (2551). “วิชาศิลปะในมุมมองของครูศิลปะ”. วิรุณ ตั้งเจริญ, บรรณาธิการ.ครูศิลปศึกษา. 160-161. กรุงเทพฯ: บริษัท กริดส ดีไซน แอนดคอมมูนิเคชั่น จํากัด. สมาน อัศวภูมิ. (มิถุนายน-กันยายน 2557). “คุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาประเด็นและปญหาที่ตองแกไข”. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต.14(3):9.สํานักงานสถิติแหงชาติ. (2563). สรุปผลการสํารวจ ภาวะการทํางานของประชากร เดือนธันวาคม พ.ศ.2562.