ดอกบัว : คติความเชื่อ สัญลักษณ์ ความหมาย ในอารยธรรมตะวันตกและอารยธรรมตะวันออก

ผู้แต่ง

  • รุจาภา ประวงษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคติความเชื่อ สัญลักษณ์ ความหมายของดอกบัวในอารยธรรมตะวันตกและอารยธรรมตะวันออก เป็นบทความเชิงเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า ดอกบัวจัดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่สำคัญที่ได้ถูกนำมาสร้างสรรค์จากคติความเชื่อเป็นภาพสัญลักษณ์ที่แสดงออกและมีความหมายปรากฏในอารยธรรมเก่าแก่หลายแห่งของโลกทั้งอารยธรรมตะวันตกและอารยธรรมตะวันออก ดังนี้คือ อารยธรรมอิยิปต์ ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์ ความคิดสร้างสรรค์การเกิดใหม่ วัฏจักรของชีวิต พิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตาย มีการใช้ดอกบัวเพื่อการรักษาและใช้ผสมเครื่องดื่มในงานเฉลิมฉลองและได้ถูกนำมาสร้างสรรค์ในงานศิลปะทางสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม อารยธรรมกรีกมีที่มาของชื่อดอกบัวสายที่มาจากชื่อของนางไม้ที่สิงสถิตอยู่ตามแม่น้ำ อารยธรรมอินเดีย ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แทนคติความเชื่อสัญลักษณ์ของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู สัญลักษณ์การโอบอุ้มแผ่นดินดูแลโลก พระอาทิตย์ การกำเนิดของเทพเจ้าและพืชพันธุ์ การสร้างสรรค์ ความอุดมสมบูรณ์ ความงามของสตรีเพศ ศาสนาพุทธมหายาน ดอกบัวหมายถึงความบริสุทธิ์ปราศจากมลทิน ในศาสนาพุทธเถรวาทดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แห่งการรู้แจ้งและจิตวิญญาณภายใน สัญลักษณ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ความงามและความบริสุทธิ์

References

จําเนียนน้อย สิงหะรักษ์. (2553). “ดอกบัวในพุทธศาสนาเถรวาท”. วารสารพิกุล, 8(1), น. 19-38.

ชวลิต ดาบแก้ว. (2542). พรรณไม้ในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2558). ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส.

_______. (2565.). มุทรา ท่าทาง เครื่องทรง สิ่งของ รูปเคารพในศาสนาพุทธ เชน ฮินดู. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส.

เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. (2557). แกะรอยพระลักษมี. กรุงเทพ: มิวเซียมเพลส.

_______. (2559). “ความเชื่อและรูปแบบงานศิลปกรรมพระศรีอุมาเทวีในประเทศไทย”. วารสารมหาวิทยาลัย

ศิลปากร, 36(2), น. 37-56.

ผาสุข อินทราวุธ. (2543). พุทธปฏิมาฝ่ายมหายาน. กรุงเทพฯ: อักษรสมัย.

พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). ดอกบัว. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2564, จาก

https://dictionary.orst.go.th

พระวิมลศีลาจารย์. (2496). ดอกบัวกับพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: อักษรนิติ.

วีระประวัติ ตรีสุวรรณ และภวพล ศุภนันทนานนท์. (2561). บัว Waterlilies & Lotusses. กรุงเทพฯ: บ้านและ

สวนอมรินทร์พริ้นติ้งแอนน์พับลิชชิ่ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26