แนวทางการดำเนินการทางวินัยกรณีลอกเลียนผลงานทางวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • วิกานดา ชัยรัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การดำเนินการทางวินัย ลอกเลียนผลงานทางวิชาการ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การลอกเลียนผลงานทางวิชาการมีตั้งแต่พฤติกรรมไม่รุนแรงจนถึงพฤติกรรมที่รุนแรง ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการกลางข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น เรื่อง มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นตำแหน่งประเภททั่วไปและประเภทวิชาการให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 โดยมีข้อเสนอแนะและข้อพึงระมัดระวังเกี่ยวกับการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาท้องถิ่น ข้อที่ 5 การคัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือนำเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่น หรือจ้างวาน ให้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการ รวมทั้งการร่วมดำเนินการคัดลอกหรือลอกเลียนผลงานของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือรับจัดทำผลงานทางวิชาการไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ เพื่อไปใช้ในการเลื่อนวิทยฐานะเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ปัญหาการลอกเลียนผลงานทางวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และ 2. วิเคราะห์แนวทางการดำเนินการวินัยกรณีลอกเลียนผลงานทางวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายใต้บริบทพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 โดยบทความนี้เน้นการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัย หนังสือตำรา กฎหมายและคำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับการการดำเนินการวินัยกรณีลอกเลียนผลงานทางวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

 

References

กุลวดี ปุณทริกโกทก. (2561). การอ้างอิงผลงานทางวิชาการ. วารสารกฎหมายมหาวิทยาลัยมหิดล

, 1(1), 18–19.

ค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา. (2563). คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1908/2546. สืบค้นจาก

https://deka.in.th/view-110887.html.

ณัฐพล ลือสิงหนาท. (2563). “ผลงานทางวิชาการที่อ้างอิงไม่ถูกต้อง” ถือเป็นการ “ลอกเลียน”.

สืบค้นจาก http://admincourt.go.th/ADMINCOURT/site/09illustration_list-

html?page=09illustration_list-61&start=25&rowperpage=25.

ธนพร แย้มสุดา. (2560). การทุจริตทางวิชาการปัญหาที่บั่นทอนความเข้มแข็งของสังคม. วารสาร

แพทย์นาวี, 44(3), 179-180.

บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2563). การคัดลอกผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย

สิ่งพิมพ์วิทยานิพนธ์ (Academic Plagiarism) “ประเด็นที่เราควรตระหนัก”. สืบค้น

จาก www.grad.chula.ac.th › download › files › Plagiarism, 1-18.

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคล

ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ.

๒๕๖๐. สืบค้นจาก www.ratchakitcha.soc.go.th › DATA › PDF › 2560.

. (2564). ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคล

ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๖๓. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/147/T_0020.PDF.

. (2565). ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคล

ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๖๓. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th › DATA › PDF.

สมศีล ฌานวังศะ. (2554). “การอ้างอิงหรือพาดพิงทางวิชาการต้องซื่อสัตย์” ใน พระพรหมคุณา

ภรณ์. นักวิชาการเทศ-ไทย หาความรู้ให้แน่ ใช่แค่คิดเอา. 318-319. กรุงเทพ: เจริญดี

มั่นคงการพิมพ์.

สำนักงาน ก.จ. ก.ท. และ ก.อบต.. (2565). แจ้งเตือนเกี่ยวกับการประเมินผลงานข้าราชการหรือ

พนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ

สูงขึ้น ประเด็นการจัดทำผลงานเป็นเท็จ หรือมีการลอกเลียนผลงานหรือนำผลงานของ

ผู้อื่นมาใช้เป็นผลงานของตน หรือมีการจ้างวานผู้อื่นทำผลงานให้ โดยผลงานที่นำมา

จัดทำนั้นไม่ใช่ผลงานที่แท้จริงของตน. สืบค้นจาก

http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2022/3/27066_1_1647501426

pdf.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. (2563). ความผิดวินัยกรณีลอกเลียนผลงาน

ทางวิชาการ. สืบค้นจาก www.sesa10.go.th › sesa10› data › aug54.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2563). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา พ.ศ.2547. สืบค้นจาก web.krisdika.go.th › law› law2 › Ã48-20-

-update.

สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. (2563ก). พระราชบัญญัติ

ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542. สืบค้นจาก

http://www.dla.go.th/servlet/TemplateOrganizeServlet?organize=lomd.

. (2563ข). ประกาศคณะกรรมการกลางข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น เรื่อง

มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการคัดเลือกเพื่อเลื่อนและแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วน

ท้องถิ่นตำแหน่งประเภททั่วไปและประเภทวิชาการให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น

(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562. สืบค้นจาก

http://www.local.moi.go.th/newweb2019/web/home.

. (2563ค). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น เรื่อง

กำหนดมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. สืบค้นจาก

http://www.local.moi.go.th/newweb2019/web/department/detail/13.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2563). การจ้างทำผลงานทาง

วิชาการ การรับจ้างทำผลงานทางวิชาการและการคัดลอกผลงานทางวิชาการ เป็น

ความผิดวินัยร้ายแรง. สืบค้นจาก

https://otepc.go.th/th/content_page/item/2732-2019-08-09-06-46-50.html.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2563). ข้อกำหนดวินัย และ

การดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ของข้าราชการครูและบุคลากร

ทางการศึกษา. กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการ

ศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2560). คู่มือมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงาน

ทางวิชาการ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

(2563). ผลการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 1/2556. สืบค้นจาก

http://personnel.obec.go.th/personnel/index.php?option=com_content&vie

w=article&id=395:2013-01-30-02-58-00&catid=13:2011-08-11-05-13-55.

Hengki Wijaya, and Kara Eliazbeth Gruber. (2018). Ethics perspective and regulation

of plagiarism in Higher Education. International Journal of Humanities and

Innovation (UHI), 1(1), 17-25. Doi: 10.33750/ijhi.v1i1.4.

MacLennan, H. (2018). Student Perceptions of Plagiarism Avoidance Competencies:

An Action Research Case Study. Journal of the Scholarship of Teaching and

Learning, 18(1), 58-74. Doi: 10.14434/josotl.v18i1.22350.

Manjet Kaur Mehar Singh, and Malini Ganapathy. (2018). Understanding Plagiarism

from the Lens of First Year Tertiary Level Students. Pertanika J. Soc. Sci. &

Hum., 26(T), 159-177.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-26 — Updated on 2023-05-26

Versions