การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในรูปแบบโฮมสเตย์ของชุมชนหนองไข่เหี้ย ตำบลสีดา อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน, โฮมสเตย์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในรูปแบบโฮมสเตย์ของชุมชนหนองไข่เหี้ย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพรวบรวมข้อมูลจาการสัมภาษณ์แบบไม่มีเค้าโครง การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมาย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 7 ท่านผลการวิจัยพบว่า การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนในรูปแบบโฮมสเตย์ มีจุดเริ่มต้นมาจากการร่วมกลุ่มชาวบ้านชุมชนหนองไข่เหี้ย เมื่อปี พ.ศ. 2548 นำโดยผู้ใหญ่บ้านได้จัดทำและขอเข้าร่วมโครงการของกรมการท่องเที่ยวจัดตั้งกลุ่มสมาชิกโฮมสเตย์ของชุมชน ระยะเริ่มแรกมีสมาชิกกลุ่มโฮมสเตย์จำนวน 7 หลัง โดยในปี พ.ศ. 2564 กลุ่มโฮมสเตย์ชุมชนหนองไข่เหี้ยมีแผนที่จะขยายสมาชิกโฮมสเตย์เพิ่มอีก 3 หลัง เป็นจำนวนทั้งสิ้น 10 หลัง และมีแนวโน้มที่จะขยายสมาชิกโฮมสเตย์ขึ้นอีกในปีต่อ ๆ ไปเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาทุกปีและปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กำลังเป็นที่นิยมทำให้การเพิ่มของสมาชิกโฮมสเตย์ขึ้นอีกถือเป็นช่องทางการเพิ่มรายได้ให้ชาวบ้าน ในส่วนของการบริหารจัดการท่องเที่ยว พบว่า ชุมชนหนองไข่เหี้ยมีการจัดการท่องเที่ยวของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนสอดคล้องตามหลัก CBT ที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม กำหนดทิศทางการท่องเที่ยวโดยสมาชิกในชุมชน คนในชุมชนทุกคนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน กลุ่มโฮมสเตย์ที่เป็นกลุ่มองค์กรใหญ่ของชุมชนหนองไข่เหี้ยที่จัดหานักท่องเที่ยวเข้ามาพักเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านแล้ว ภายในชุมชนหนองไข่เหี้ยยังมีกลุ่มทอผ้าเลี้ยงไหมเป็นอาชีพเสริม กลุ่มทอผ้าและกลุ่มสมาชิกโฮมสเตย์มีความเกื้อหนุนกัน โดยโฮมสเตย์มีการตั้งกฎกติกาที่ชัดเจนสำหรับทุกกลุ่มขององค์กรในชุมชนเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามทำให้ไม่มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน ซึ่งหมู่บ้านแห่งนี้ได้รับรางวัลด้านการเป็นหมู่บ้านประชาธิปไตย นอกจากนี้ภายในชุมชนชาวบ้านทุกคนสามารถให้ความรู้กับนักท่องเที่ยวได้เกี่ยวกับการเรียนรู้วิถีชีวิต
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2544). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโฮมสเตย์. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ดรรชนี เอมพันธุ์. (2550). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนและการจัดกิจกรรมโฮมสเตย์. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิภาภรณ์ แฉ่งสูงเนินและคณะ. (2555). การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนและจัดทาแผนที่เดินดิน หมู่บ้านหนองไข่
เหี้ย หมู่ที่ 11 ตําบลสีดา อําเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา (รายงานการวิจัย). นครราฃสีมา: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครราชสีมา.
เบญจวรรณ สุพันอ่างทอง. (2555). การใช้อัตลักษณ์ในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ของจังหวัดอุดรธานี.
(วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
ประทีป วีรพัฒนนิรันดร์. (2541). เศรษฐกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2562, จาก
http://www.banrainarao.com/column/commu_econ_02.
พจนา สวนศรี และสมภพ ยี่จอหอ. (2556). คู่มือมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
สํานักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2551). การใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐาน
โฮมสเตย์ไทย พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ: สํานักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.