การใช้ภาระงานสื่อสารในการพัฒนาประสิทธิภาพการพูดภาษาอังกฤษในห้องเรียนภาษา

ผู้แต่ง

  • ประยงค์ กลั่นฤทธิ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพในการพูดภาษาอังกฤษ, ภาระงานสื่อสาร, วิเคราะห์แบบสามเส้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้ภาระงานสื่อสารก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ศึกษาพฤติกรรมของผู้เรียนที่เกิดขึ้นในขณะดำเนินการสอนภายในห้องเรียน และ 3) ศึกษาบรรยากาศในการจัดชั้นเรียนการสอนทักษะการพูดในบริบทเป็นภาษาต่างประเทศ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการสอนภาษาอังกฤษสำหรับผู้พูดภาษาอื่น ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 16 คน ได้มาโดยแจ้งความจำนงเข้าร่วมในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การพูดภาษาอังกฤษโดยใช้ภาระงานสื่อสาร จำนวน 6 แผน 2) แบบวัดประสิทธิภาพการพูดภาษาอังกฤษ 3) บันทึกของนักเรียน 4) บันทึกของครู 5) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การดำเนินการทดลองสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง จำนวน 6 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 24 ชั่วโมง การวิจัยเป็นแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบทีแบบไม่อิสระ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

            ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. ผลการศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษา พบว่า นักศึกษามีคะแนนความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษก่อนเรียนเท่ากับ 27.23 คิดเป็นร้อยละ 68.07 หลังเรียนเท่ากับ 36.91 คิดเป็นร้อยละ 92.23 ผลการเปรียบเทียบพบว่า นักศึกษามีคะแนนความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
  2. ผลการศึกษาพฤติกรรมของนักศึกษาในระหว่างการดำเนินการสอนพูดภาษาอังกฤษภายในห้องเรียน พบว่า นักศึกษามีพฤติกรรมการพูดภาษาอังกฤษเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด จากการนั่งฟังอย่างเงียบเป็นการเข้าร่วมทำภาระงานอย่างกระตือรือร้น

3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้าของบรรยากาศการจัดชั้นเรียนการสอนพูดภาษาอังกฤษโดยใช้ภาระงานสื่อสาร พบว่า บรรยากาศในห้องเรียนเป็นแบบที่มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลาในขณะที่นักศึกษาเข้าร่วมปฏิบัติภาระงาน ซึ่งทำให้นักศึกษามีความสนุกสนานในการเรียนพูดภาษาอังกฤษ เต็มใจที่ได้เข้าร่วมทำภาระงานในการทำงานเป็นคู่และเป็นกลุ่ม ความกังวลในการพูดภาษาอังกฤษลดลงอย่างชัดเจน และทำให้นักศึกษาสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ธัญลักษณ์ อรดี. (2555). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้กิจกรรมเพื่อการสื่อสารสามแบบของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

สําหรับผู้พูดภาษาอื่น, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).

ประกายแก้ว ไชยชาติ. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการพูดโดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นภาระงานด้วย

ภาระงานการแก้ปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษสําหรับผู้พูดภาษาอื่น, มหาวิทยาลัยราชภัฏ

อุดรธานี).

ประยงค์ กลั่นฤทธิ์. (2556). การสอนภาษาอังกฤษ: คู่มือการสอนภาษาอังกฤษในบริบทเป็นภาษาต่างประเทศ.

กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สุวิมล ติรกานนท์. (2548). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bygate, M. (1987). Speaking in Language Teaching. Oxford: Oxford University Press.

Doughty, C. & Pica, T. (1986). “Information Gap” Tasks: Do they facilitate Second Language

Acquisition?”. TESOL Quarterly, 20(2), pp. 305-325.

Ellis, R. (2003). Task-based language learning and teaching. Oxford: Oxford University Press.

Klanrit, P. (2005). Communicative activities for developing English speaking proficiency in

Thailand. Volumns 1&2. D.Ed. (TESOL) Melbourne: The University of Melbourne.

Littlewood, W. (1981). Communicative Language Teaching. Cambridge: Cambridge University

Press.

McCroskey, J.C. & Richmond, V. P. (1991). Quiet Children and the Classroom Teacher. ERIC

Clearninghouse on Reading and Communication Skills.

Nunan, D. (1989). Designing tasks for the communicative classroom. Cambridge: Cambridge

University Press.

Pica, T., Kanagy, R. & Falodun, J. (1993). Choosing and Using Communication Tasks for

Second Language Instruction and Research Task and Language learning Integrating

Theory and Practice. Bristol: London Press.

Ton, M. (1989). Communication strategies employed by Thai learners of English at

university level in interaction with native speakers. (master’s thesis, Mahidol University).

Tsiplakides. I. & Keramida, A. (2010). Promoting positive attitudes in ESL/EFL classes. The Internet

TESL Journal, XVI(1). from http://iteslj.org/Techniques/Tsiplakides-Positive attitudes.html.

Tsui, A.B.M. (1996). Reticence and anxiety in second language learning .In K. M. Bailey and D.

Nunan (Eds.). Voices from the language classroom: Qualitative Research in Second

Language Education (pp. 145-167). New York: Cambridge University press.

Young, D. J. (1991). Creating a low-anxiety classroom environment: What does language anxiety

research suggest?. The Modern Language Journal, 75(4), pp. 426-439.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31