ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษา มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • นิพล อินนอก มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาโคราช
  • วทัญญู ภูครองนา มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาโคราช
  • พระอุดมธีรคุณ ภูครองนา มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาโคราช
  • พระชลวัตร กิมซัว มหาวิทยาลัยมกุฏราชวิทยาลัย ศูนย์การศึกษาโคราช

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, การพัฒนาตนเอง, ทักษะทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของนักศึกษา มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย
(2) ศึกษาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษา มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา
มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตของนักศึกษา (2) แบบสอบถามการพัฒนาตนเองของนักศึกษา (3) แบบสอบถามทักษะทางสังคมของนักศึกษา (4) แบบวัดพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษา (5) แบบวัดเจตคติที่มีต่ออาจารย์ผู้สอนของนักศึกษา (6) แบบสอบถามลักษณะทางกายภาพของมหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย (7) แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน         ค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรผันและการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis with LISREL : PAL)

             ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย อยู่ในระดับปานกลาง ลักษณะดังกล่าวนี้ของนักศึกษาแต่ละคนแตกต่างกันพอสมควร 2) ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษา
มหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ได้แก่ การพัฒนาตนเองของนักศึกษา ทักษะทางสังคมของนักศึกษา ลักษณะทางกายภาพของมหาประชาบดีเถรีวิทยาลัย อธิบายความแปรปรวนคุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาปชาบดีเถรีวิทยาลัย ได้ร้อยละ 63.00 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ =.01

References

กรมสุขภาพจิต. (2562). เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-

BREF-THAI). สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.dmh.go. th/test/ Whoqol.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิก.

กฤตธัช อันชื่น. (2557). คุณภาพชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา:

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

กุลยา ก่อสุวรรณ. (2553). การสอนเด็กที่มีความบกพร่องระดับเล็กน้อย. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาศักยภาพเด็ก

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชุมพร ฉํ่าแสงและคณะ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรฝ่ายการพยาบาล ศูนย์การแพทย์

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนครนายก (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นพรัตน์ เรียบทวี. (2548). องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา

การศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก วันที่ 6 เมษายน 2560.

ลีลศร พ่วงศรี. (2546). การศึกษาปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

มหาวิทยาลัยมหิดล. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา,

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

วิธัญญา แซ่ล้อ. (2559). คุณภาพชีวิตของนักศึกษาปริญญาตรีภาคปกติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง (รายงานการวิจัย). ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

วีรวรรณ วงศ์ป่านเพ็ชร และชลิตา วสุวัต. (2553). การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของพฤติกรรม

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จังหวัดเชียงใหม่ (รายงาน

การวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ.

ศศิพินต์ ทรงสัตย์. (2542). ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันราชภัฏ

เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา, มหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ).

สุพรรณิกา พงษ์พุก. (2562). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของ

นักศึกษามหาวิทยาลัยนครพนม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา,

มหาวิทยาลัยนครพนม).

สํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา

พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สํานักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560–2564.

กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาต ิ .

Bloom, B.S. (1980). The State of Research on Selected Alterable Variable in Education. MESA

Seminar. Department of Education, University of Chicago.

Likert, R. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. Reading in Attitude Theory

and Measurement. P.90-95. Fishbeic, Matin, Ed. New York: Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-31