กลวิธีโน้มน้าวในหนังสือธรรมะทางพุทธศาสนา ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธีและพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต

ผู้แต่ง

  • ภัศรวิชญ์ ทองทวี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ซัลมาณ ดาราฉาย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

กลวิธีโน้มน้าว, ภาษาโน้มน้าว, หนังสือธรรมะทางพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีโน้มน้าวในหนังสือธรรมะทางพุทธศาสนาของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี และพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต เป็นบทความวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลภาษาจากข้อความเทศนาธรรมในหนังสือธรรมะที่เขียนโดยพระภิกษุ 2 รูป ได้แก่ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี และ
พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคืออัตราส่วนร้อยละผลการศึกษาพบว่า กลวิธีโน้มน้าวในหนังสือธรรมะของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี จำแนกเป็น 9 ประเภท เรียงตามลำดับความถี่ในการปรากฏจากมากไปน้อย ได้แก่ การแสดงเหตุผล (ร้อยละ 23.19) การถาม (ร้อยละ 21.47) การแสดงความต่าง (ร้อยละ 16.74) การแสดงความเห็น (ร้อยละ 12.24) การแสดงเงื่อนไข (ร้อยละ 9.73) การเปรียบเทียบ (ร้อยละ 5.39) การสั่ง (ร้อยละ 5.17) การกล่าวอ้างพุทธพจน์ (ร้อยละ 3.23) และการแสดงตัวอย่าง (ร้อยละ 2.84) ส่วนกลวิธีโน้มน้าวในหนังสือธรรมะของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต จำแนกเป็น 9 ประเภท เรียงตามลำดับความถี่ในการปรากฏจากมากไปน้อย ได้แก่ การแสดงเหตุผล (ร้อยละ 22.56) การแสดงความต่าง (ร้อยละ 20.64) การแสดงความเห็น (ร้อยละ 19.47) การถาม (ร้อยละ 15.04) การแสดงเงื่อนไข (ร้อยละ 9.17)การเปรียบเทียบ (ร้อยละ 5.65) การสั่ง (ร้อยละ 4.17) การแสดงตัวอย่าง (ร้อยละ 2.26) และการกล่าวอ้างพุทธพจน์ (ร้อยละ 1.04) กล่าวได้ว่า พระภิกษุทั้ง 2 รูป เลือกใช้กลวิธีโน้มน้าวที่หลากหลายผสมผสานกันในการเรียบเรียงข้อความในหนังสือธรรมะทางพุทธศาสนาเพื่อปรับเปลี่ยนความคิดความเชื่อของผู้อ่าน ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้อ่านมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาในที่สุด

References

เคิรกเพอรสัน. (กรกฎาคม-ธันวาคม 2539). ภาษาเทศนาแบบพระพยอมกฺลยาโณ: บทวิเคราะห วจนลักษณในปาฐกถาธรรม.วารสารภาษาและภาษาศาสตร: 15, 1-20.

ชลธิชา บํารุงรักษ. (2544). การจัดประเภทภาษาระดับขอความในภาษาไทย ใน จินตนา ดํารงเลิศ (บรรณาธิการ), วิชยปdญญา. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

ช่อฟ้า เกตุเรืองโรจน และอวยพร พานิช. (2554). กระบวนการและกลวิธีการสื่อสารเพื่อถายทอดพุทธธรรมในหนังสือธรรมะของทาน ว.วชิรเมธี. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ฌุมพรี เหลาวิเศษกุล. (2547). การศึกษากลไกลภาษาเทศนาของพระปญญานันทภิกขุและพระพยอมกฺลยาโณ.วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาศาสตร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

ทองหลอ วงษธรรมา. (2551). ศาสนาสําคัญของโลก. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพโอเดียนสโตร.

ธีระพล มะอาจเลิศ. (2556). การวิเคราะห:รูปแบบการนําเสนอและกลยุทธ:การสื่อสารในการเผยแผพุทธธรรมของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี ): กรณีศึกษาผลงานนิพนธชุดธรรมประยุกตสําหรับคนรุ่นใหม. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาการสื่อสารประยุกต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี. (2559ก). เคล็ดลับหัวใจเศรษฐี. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพสัปปายยะ.

__________. (2559ข). ทุกขไมไป หรือเราไมปลอย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพสัปปายยะ.

พระมหาสมปอง ตาลปุตโต. (2557). ชีวิตไมสิ้น ก็ตองดิ้นนะโยม. กรุงเทพฯ: บริษัท โพสต พับลิชชิง จํากัด (มหาชน).

__________. (2559). ธรรมะ เฮฮา อารมณ:ดี 24 ชั่วโมง. กรุงเทพฯ: บริษัท อีเทอรนิตี้ไอเดีย 168 จํากัด. ภัทรพร สิริกาญจน และคณะ. (2546). ความรู พื้นฐานทางพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรีคํา บัวโรย. (2559). ศาสนศึกษา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพโอเดียนสโตร.

อัญชลี ถิรเนตร. (2543). กลยุทธการสื่อสารเพื่อการโน มน าวใจในหลักคําสอนของพระพุทธเจา. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร, สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ.

Leedy, P.D. &Ormrod J.E. (2015). Practical Research: Planning and Design. (11thed). Boston, MA:Peason. Longacre, R.E. (1976). An Anatomy of Speech Notions. Ghent: The Peter de Ridder Press. __________. (1983). Grammar of Discourse. New York, NY: Plenum Press. Renkema, J. (2004). Introduction to Discourse Studies. Amsterdam: John Benjamins Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-31