การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้นิทานพื้นบ้าน ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

ผู้แต่ง

  • สาธิตา สังข์พงษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ, นิทานพื้นบ้าน,ตำนานเทพเจ้า

บทคัดย่อ

ในบรรดาทักษะภาษาอังกฤษอันประกอบไปด้วยทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนนั้นทักษะที่มี
ความจำเป็นมากที่สุดทักษะหนึ่งคือทักษะการอ่าน ซึ่งต้องใช้ในชีวิตประจำวัน และในการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา และอุดมศึกษาซึ่งจะต้องอ่านตำราที่เป็นภาษาอังกฤษ ทั้งนี้นิทานพื้นบ้านเป็นเนื้อหาที่มีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ใช้ภาษาเข้าใช้ง่าย ผู้วิจัยจึงนำนิทานพื้นบ้านมาใช้กับการเรียนการสอนอ่าน

งานวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการอ่านโดยใช้นิทานพื้นบ้านของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี  มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้นิทานพื้นบ้าน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนในวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็กกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ ครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้
1)แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้นิทานพื้นบ้านประเภทตำนานเทพเจ้าและ 2) แบบสอบถามความความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนในวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็กสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (t-test dependent)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านโดยใช้นิทานพื้นบ้านประเภทตำนานเทพเจ้า 5 เรื่องก่อน และ
    หลังเรียน นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มีค่าเฉลี่ยผลการทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ 20.18 และค่าเฉลี่ยผลการทดสอบหลังเรียนเท่ากับ 23.08 จากคะแนนทั้งหมด 40 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบผล
    การทดสอบผลสัมฤทธิ์การอ่าน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษา พบว่ามีผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่า
    ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
  2. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนในวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็กเพื่อพัฒนาโดยใช้นิทานพื้นบ้านพบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนในวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็กเพื่อพัฒนาโดยใช้นิทานพื้นบ้านในระดับมากที่สุด

สรุปได้ว่าการใช้นิทานพื้นบ้านสามารถช่วยพัฒนาทักษะการอ่านของนักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ภาษาเข้าใจง่าย ทำให้นักศึกษามีความพึงพอใจในการเรียนวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็กค่อนข้างมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย. สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2553.

กําไล เหมือนศรี. (2551). การพัฒนาหนังสือเสริมเพื่อการเรียนรู&ด&วยนิทาน. สืบคนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2555, จากhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/413841.

ขวัญชนก คุมสุวรรณ. (2554). การอานภาษาอังกฤษเพื่อความเขาใจสําหรับนักศึกษาในสังกัดการศึกษานอกระบบ.มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฏรธานี.

จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2536). การอ)านของครู.นนทบุรี : โรงพิมพมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (หนา 179 -190).

ชานันท ทองดี. (2552). ผลการใช&ชุดกิจกรรมการอานจับใจความ จากนิทานคุณธรรม ที่มีตอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 3 โรงเรียนเซนตโยเซฟ บางนา จังหวัดสมุทรปราการ.วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. พิมพครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาสน.

_____________. (2546). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาสน.

_____________. (2557). การแปลผลเมื่อใชเครื่องมือรวบรวมขอมูล. สืบคนเมื่อ 2 สิงหาคม 2557 จาก http://www.watpon.com/boonchom/05.doc.

แมนมาส ชวลิต. (2545). แนวทางการสงเสริมการอาน. (ฉบับแกไขเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร. บรรณกิจ. ระวีวรรณ เชิดเกียรติกุล. (2550). การพัฒนาการอานจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่2 โดยใช&หนังสือนิทานภาพยกระดับ (Pop-up).[Online].Available :http://thaiteacher research.blogspot.com/2010/02/2.html.

สํานักทดสอบทางการศึกษา. (2553). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงวาดวยระบบ หลักเกณฑ;และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ7การเกษตรแหงประเทศไทย จํากัด.

เสาวลักษณ อนันตศานต. (2548). การศึกษานิทานพื้นบาน.กรุงเทพมหานคร. สํานักพิมพมหาวิทยาลัย รามคําแหง.

อารีย วาศนอํานวย. (2544). “การพัฒนาแบบฝกเสริมเพื่อความเขาใจตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 5”. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุษา มะหะหมัด. (2548). “การพัฒนาแบบฝกเสริมเพื่อความเขาใจจากนิทานพื้นบานไทยสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6 โรงเรียนวัดโพธิ์ จังหวัดนครปฐม”ปริญญานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาตางประเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-25