การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวรรณกรรมประเภทนิทาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองขวางวิทยา โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบเชิงรุก 5 STEPS

ผู้แต่ง

  • ภรณ์ทิพย์ มีสุวรรณ โรงเรียนบึงสาลี
  • จิรวรรณ เขื่อนงูเหลือม โรงเรียนบ้านหนองขวางวิทยา

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ , การเรียนรู้เชิงรุก, วิชาภาษาไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวรรณกรรมประเภทนิทานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองขวางวิทยา โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบเชิงรุก 5 STEPS เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวรรณกรรมประเภทนิทาน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบเชิงรุก 5 STEPS กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองขวางวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 16 คน โดยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบเชิงรุก 5 STEPS จำนวน 5 แผนการเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบเชิงรุก 5 STEPS วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวรรณกรรมประเภทนิทาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองขวางวิทยา โดยใช้การจัดการเรียนรู้รูปแบบเชิงรุก 5 STEPS  มีค่าเฉลี่ย 13.50 คิดเป็นร้อยละ 68 ของคะแนนเต็มสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองขวางวิทยาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้รูปแบบเชิงรุก 5 STEPS มีค่าเฉลี่ย 3.84 อยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมการเกษตร

แห่งประเทศไทย.

เขมณัฎฐ์ อำนวยวรชัย. (2555). นวัตกรรมการสอนสถิติ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 6(2),

น. 39-46.

ณัฐวดี ธาตุดี. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปี

ที่ 3โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย

ศิลปากร).

ปัญญาวิทย์ แจ่มกระจ่าง. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้

ด้านการอ่านและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมป์).

ไพศาล เครือแสง. (2556). เทคนิคการสอนเชิงรุก เรียนรู้ประสบการณ์จาก Shelton College International ประเทศสิงคโปร์. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(4), น. 24-36

มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2565). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิกรุก. พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สรัญญพัชร์ แก้วศรีไตร. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารเรื่องคำและหน้าที่

ของคำโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้-ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.

. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. สืบค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2566, จาก http//:e//www.esdc.go.th

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-07