การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้การพูดนำเสนอในรายวิชาภาษาไทย เพื่ออาชีพของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวนครราชสีมา โดยใช้กระบวนการกลุ่มด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้น (Group Investigation: GI)
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์, การพูดนำเสนอ, กระบวนการกลุ่มด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้การพูดนำเสนอในรายวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวนครราชสีมา ระหว่างก่อนและหลังเรียน เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้การพูดนำเสนอในรายวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวนครราชสีมา โดยใช้กระบวนการกลุ่มด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้น (Group Investigation: GI) ระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์ที่กําหนด และเพื่อศึกษาความพึงพอใจการพูดนำเสนอในรายวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพที่มีต่อการจัดการเรียนด้วยกระบวนการกลุ่มด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้น เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 19 คน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (M = 7.31) หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย (M = 16.21) โดยหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การเปรียบเทียบระหว่างหลังเรียนกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดร้อยละ 70 พบว่าผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คิดเป็นร้อยละ 16.21 การประเมินความพึงพอใจด้านสภาพแวดล้อม พบว่าบรรยากาศของการเรียนรู้กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ค่าเฉลี่ย คือ 3.88 ส่งผลให้เกิดทักษะการพูดนำเสนอใน ระดับมาก และด้านกิจกรรมการเรียนการสอนช่วยทำให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดที่สูงขึ้นและตัดสินใจโดยใช้เหตุผลได้ ค่าเฉลี่ย คือ 3.98 ระดับมาก โดยรวมทุกด้านได้ค่าเฉลี่ย 3.93 ระดับมาก
References
กระแส มิฆะเนตร. (2560). ผลการสอนโดยวิธีสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่มที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ
ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนลําดวน จังหวัดสุรินทร์.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
คนิษา ลำภาศาส. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มเรื่อง
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชและสัตว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้
แบบร่วมมือด้วยเทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI). (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
บูรพา).
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่22). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
นภดล จันทร์เพ็ญ. (2557). หลักการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: เจเนซิส มีเดียคอม.
นิตยา ชังคมานนท์. (2559). การเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจีไอที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะ
การทำงานร่วมกัน ในรายวิชา ส. 503 สังคมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสิรินธร
ราชวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).
มะณีรัตน์ รักเพื่อน, อธิราช ชึดนอก, บัญญัติ แก่นสา, อัครณัฐ บุญมะยา. (2565). การพัฒนาทักษะการสื่อสาร
และการนําเสนอ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ GI ภายใต้สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้
ผสมผสานระหว่างออนไลน์และออฟไลน์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 3(2),
น. 106-115.
วันเพ็ญ สืบบุตร. (2561). การพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือแบบ GI
รายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา
บัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
สุภาวกุล ภักดีศรี. (2560). ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิชางานสารบรรณ เรื่อง การเขียนหนังสือราชการ โดย
ใช้ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัย
ศึกษา อุตรดิตถ์. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).
อรทัย มูลคำ. (2558). วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: โสตทัศน์
ศึกษาคณะครุศาสตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Sharan,Y. and Sharan, S. (1990). Group investigation expands cooperative learning.
Education Leadership. P.18.