การพัฒนาทักษะการเขียนวิจารณ์วรรณคดี เรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม โดยใช้ชุดคำถามตามเทคนิคหมวก 6 ใบ บูรณาการ TPACK
คำสำคัญ:
การวิจารณ์วรรณคดี , อิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง , เทคนิคหมวก 6 ใบ, TPACKบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนวิจารณ์วรรณคดี เรื่องอิเหนา ตอนศึก กะหมังกุหนิง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองกี่พิทยาคม เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนวิจารณ์วรรณคดี ระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนวิจารณ์วรรณคดี หลังเรียนและเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดคำถามตามเทคนิคหมวก 6 ใบ บูรณาการ TPACK โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 44 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน แบบประเมินการวิจารณ์วรรณคดี และแบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 7.61 คิดเป็นร้อยละ 38.07 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.384 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 12.14 คิดเป็นร้อยละ 60.67 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.563 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.52 และเมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนต่ำกว่า เกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กำหนดไว้ และการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ ชุดคำถาม ตามเทคนิคหมวก 6 ใบ บูรณาการ TPACK รวมทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.29 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.588 เมื่อพิจารณาด้านที่ 1 วิธีการสอน อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.585 ด้านที่ 2 เนื้อหา อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.637 และด้านที่ 3 สื่อการสอนอยู่ใน ระดับมาก ค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.650
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2552. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เจนจิรา ยลพล. (2565). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบหมวกหกใบ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชลธิชา เกิดปากแพรก. (2564). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา เรื่อง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวก 6 ใบร่วมกับแผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ชัยวัฒน์ แก้วพันงาม. (2561). แนวทางในการผสมผสานดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการสอนภาษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมมณี. (2540). การคิดและการสอน:ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปราณี กองจินดา. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และทักษะการคิดเลขในใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนตามรูปแบบซิปปาโดยใช้แบบฝึกหัดที่เน้นทักษะการคิดเลขในใจกับนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือครู. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วิชัย รัตนศิริ. (2562). การพัฒนาความสามารถทางการเขียนวิเคราะห์วิจารณ์วรรณกรรมโดยใช้ชุดคําถามตามเทคนิคหมวก 6 ใบ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วิภาวัณย์ สาระทรัพย์. (2559). การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนร้แบบ SQ4R ร่วมกับเทคนิควิธีการคิดแบบหมวก 6 ใบ.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2548). สรุปรายงานโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ เล่มที่ 14/2548. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา.
หทัย น้อยสมบัติ, สุพรรณิการ์ ชนะนิล และปฐมพงศ์ ชนะนิล. (2563). การพัฒนาสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ และการรู้เรื่องคณิตศาสตร์โดยใช้ รูปแบบ TPACK Model สำหรับนักศึกษาครู 4.0. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
อรชา อุตทาสา และคณะ. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้เทคนิคหมวกความคิด 6 ใบ ของ Edward de Bono สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนตากสินราชานุสรณ. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร.
Edward de Bono. (2000). Six Thinking Hats. 3rd ed. London: Penguin Books.