นวัตกรรมการพัฒนาครูนวัตกรบนฐานการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม การเรียนรู้บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้และกระบวนการโค๊ชออนไลน์
คำสำคัญ:
ครูนวัตกร กลุ่มสาระการเรียนรู้ กระบวนการโค๊ชออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็น 2) สร้างนวัตกรรมการพัฒนาครูนวัตกร 3) ทดลองใช้นวัตกรรมการพัฒนาครูนวัตกร 4) ศึกษาความพึงพอใจของครูนวัตกร ด้วยการวิจัยและพัฒนา 4 ระยะ ดังนี้ 1) การศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูนวัตกรกับนักศึกษาครู 155 คน ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นด้วยวิธี Modified Priority Needs Index 2) ผู้วิจัยสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้าง (ร่าง) นวัตกรรมการพัฒนาครูนวัตกรและประเมินความถูกต้อง และความเหมาะสมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ด้วยแบบประเมิน 3) ทดลองใช้นวัตกรรมกับกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม ๆ ละ 25 คนวัดหลังพัฒนาและเปรียบเทียบหลังทดลองด้วยค่าทีแบบอิสระ เครื่องมือ คือ 1) นวัตกรรมการพัฒนา ครูนวัตกรฯ 2) แบบประเมินทักษะ 4) ศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มทดลองด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูนวัตกรมีค่า PNImodified อยู่ระหว่าง 0.00-0.41 2. นวัตกรรมการพัฒนาครูนวัตกรบนฐานการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้และกระบวนการโค๊ชออนไลน์ ประกอบด้วย 9 ส่วน คือ 1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 3) หลักการ 4) วัตถุประสงค์ 5) เนื้อหา 14 หน่วย 6) วิธีการพัฒนา 7) การวัดและประเมินผล 8) บทบาทผู้เกี่ยวข้อง 9) เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3. ผลการทดลองใช้ พบว่า ทักษะด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้หลังการพัฒนาของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4. ความพึงพอใจของครูนวัตกรอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D.= 0.24)
References
กฤธยากาญจน์ โตพิทักษ. (2560). การวิจัยและพัฒนาศักยภาพครูด้านการประเมินการเรียนรู้ตามสภาพจริง โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560.
กวินทร์เกียรติ นนธ์พละ. (2560). การพัฒนาศักยภาพข้าราชการครูในศตวรรษที่ 21 ของกระทรวงศึกษาธิการ. ฉะเชิงเทรา: ศึกษาธิการจังหวัดฉะเชิงเทรา.
แขก บุญมาทัน (2565). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้. เพชรบูรณ์: บริษัท ดีดีการพิมพ์ และบรรจุภัณฑ์ จำกัด.
ธราธร รัตนนฤมิตศร. (2566). 'PISA 2565' วิกฤติการศึกษาไทย. กรุงเทพธุรกิจ.
ธัญวิชญ์ ไตรรัตน์. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักกีฬาฟุตซอล โรงเรียนราชวินิตบางเขน สู่ความเป็นเลิศ. วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม–ธันวาคม 2564).
น้ำเพชร เทศะบำรุงและคณะ. (2565). การพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนที่ส่งเสริมความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารรามคำแหง ฉบับคณะศึกษาศาสตร์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2565.
ปรีชา ขอวางกลาง. (2566). การพัฒนาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย โดยใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับกิจกรรมวิถีไทย. วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม–มิถุนายน 2566).
พิณสุดา สิริรังธศรี. (2557). การยกระดับคุณภาพ “ครูไทยในศตวรรษที่ 21”. กรุงเทพฯ: มาตา การพิมพ์.
รุจิรา ศรีสุภา, พชรมน ซื่อสัจลือสกุล, วรยศ ชื่นสบาย, วิชมัย อิ่มวิเศษ และ แก้วตา ลีลาตระการกุล. (2564). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ T5 โมเดลชุดภาษาและวัฒนธรรมจีน. วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม–ธันวาคม 2564).
วชิรารัตน์ นิรันดร์เตชาภัทร์.(2563). ปัญหาการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม–ธันวาคม 2563).
วนิดา ภูชำนิ. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของครูเพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: กรณีโรงเรียนบ้านนาตาลคำข่า. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สมบูรณ์ ภู่ระหงษ์. (2551). แนวทางการพัฒนาครูผู้สอนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สุรเชษฐ์ สร้อยสวิง. (2552). ความต้องการและแนวทางการพัฒนาครู โรงเรียนฝายกวางวิทยาคม อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. เชียงราย: มหาวิทาลัยราชภัฎเชียงราย.
โสภิดา โมงกระโทก และมานิตย์ อรรคชาติ. (2566). ความคาดหวังต่อการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารชัยพฤกษ์ภิรมย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม–มิถุนายน 2566).
อมรรัตน์ ดอนพิลา. (2566). ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาทักษะดิจิทัลของครู ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มุกดาหาร. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อรรณพ จีนะวัฒน์. (2559). การบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดสานักงาน ส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กรุงเทพมหานคร การพัฒนาตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อัจศรา ประเสริฐสิน, เทพสุดา จิวตระกูล และจอย ทองกล่อมศร. (2560). การศึกษาแนวทางการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา ไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการทำวิจัยของครู. วารสารบรรณศาสตร์ มศว ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2560.
Collins, K.M., (2021). The methodological integrity of critical qualitative research: Principles to support design and research review. Journal of Counseling Psychology, 68(3), 357–370. Retrieved 4 March 2021, from https://doi.org/10.1037/cou0000523.
Dede, C., Jass Ketelhut, D., Whitehouse, P., Breit, L., & McCloskey, E. (2009). "A Research Agenda for Online Teacher Professional Development." Journal of Teacher Education, 60(1), 8-19.
Gall, Joyce P., Gall, M.D., and Borg, Walter R. (2005). Applying Educational Research: a Practical Guide. Boston: Pearson.
Hall, T., & Gornik, R. (2020). Online mentoring and coaching for teacher professional development: A social learning perspective. Journal of Educational Change, 21(3), 297-314.
Klaic, A., Burtscher, J. M., & Jonas, K. (2020). "Fostering Team Innovation and Learning by Means of Team-Centric Transformational Leadership: The Role of Teamwork Quality." Journal of Occupational and Organizational Psychology, 93(1), 942-966.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, Vol.30, pp. 607-610.
OECD. (2018). Oslo Manual 2018: Guidelines for Collecting, Reporting and Using Data on Innovation. 4th Edition. Paris: OECD Publishing.
Suthiwartnarueput, T., Supasetseree, S., & Boonlong, P. (2021). The use of LINE application in Thai higher education: A case study. Asian Journal of Distance Education, 16(1), 22-36.
Trust, T., & Horrocks, B. (2022). The role of online coaching in preservice teacher education: A systematic review. Journal of Digital Learning in Teacher Education, 38(2), 85-101.