การศึกษาความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาที่มีต่อการครอบครองปรปักษ์ในที่ดิน
คำสำคัญ:
ความรู้และความเข้าใจ การครอบครองปรปักษ์ในที่ดิน หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักกฎหมายการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินและศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาที่มีต่อการครอบครองปรปักษ์ในที่ดิน โดยในการวิจัยนี้กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ซึ่งได้เลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random sampling) จำนวน 50 คน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ (Percentage) ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยทำให้ทราบว่าหลักกฎหมายครอบครองปรปักษ์ปรากฏในมาตรา 1382, 1299 วรรค 2 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และมาตรา 78 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทั้งนี้พบว่าระดับความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตที่มีต่อการครอบครองปรปักษ์ในที่ดิน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยความรู้ความเข้าใจว่าการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินต้องไปครอบครองที่ดินของผู้อื่นติดต่อกันจนครบ 10 ปี อยู่ในระดับมาก ( = 4.28, S.D. = 0.81) รองลงมาคือ มีความรู้ความเข้าใจว่าการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินทำให้ได้กรรมสิทธิ์ อยู่ในระดับมาก ( = 4.16, S.D. = 0.87) และการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินต้องครอบครองโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของอยู่ในระดับมาก ( = 4.08, S.D. = 0.99) ตามลำดับ ส่วนความรู้ความเข้าใจที่ว่าการได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ถ้ายังไม่จดทะเบียนจะเปลี่ยนเเปลงสิทธิไม่ได้ อยู่ในระดับมาก ( = 3.83, S.D. = 0.97) ซึ่งมีระดับความรู้ความเข้าใจในลำดับสุดท้าย ทั้งนี้ยังพบว่านักศึกษาต่างชั้นปีกันมีผลต่อระดับความรู้ความเข้าใจการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินด้วย โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.60) รองลงมา คือ ชั้นปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก ( = 4.30, S.D. = 0.24) ส่วนนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก เพราะยังไม่ได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชากฎหมายแพ่งว่าด้วยทรัพย์สิน
References
ถนอมจิต แก้วเกื้อ. (2555). ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองแรงานของลูกจ้าง : ศึกษาเฉพาะกรณี
ในสถานประกอบการประเภทโรงแรม อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
บัญญัติ สุชีวะ. (2544). คำอธิบายกฎหมายลักษณะทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือ
เนติบัณฑิตยสภา.
ปรีดี เกษมทรัพย์. (2531). นิติปรัชญา. พระนคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2565). หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ.2565.
นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ศาลฎีกา, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในศาลฎีกา. (2555). ระบบสืบค้นคำพิพากษาคำสั่งคำร้องและ
คำวินิจฉัยศาลฎีกา. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2555, จาก
http://www.deka2007.supremecourt.or.th/deka/web/searchlist.jsp
ศรีราชา วงศารยางค์กูร. (2564). คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.