ศักยภาพในการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุน บ้านหนองแหน ตำบลหนองแหน อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • อดิศร นามเหลา หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • พงศ์สวัสดิ์ ราชจันทร์ หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ศักยภาพ การจัดการ กลุ่มวิสาหกิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาศักยภาพในการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุน           2. ปัญหาและอุปสรรคศักยภาพในการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุน และ 3. แนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคศักยภาพในการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก (indepth interview) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม ได้แก่          1. นายกเทศมนตรี 2. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล 3. ผู้นำชุมชน 4. หัวหน้ากลุ่มโคขุน 5. เกษตรอำเภอกุดชุมและ 6. สมาชุกกลุ่มโคขุน แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสาร วรรณกรรม และแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษาประเด็นศักยภาพในการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุน พบว่า มีการเตรียมความพร้อมจากเกษตรกรที่เลี้ยงโคพื้นบ้านมาเป็นเกษตรกรที่เลี้ยงโคขุนเพื่อยกระดับรายได้  กลุ่มจะได้รับผลประโยชน์สูงสุด มีแผนงานและจัดโครงสร้างของงาน มีการสรรหาบุคคลในกลุ่มเข้ามาปฏิบัติงาน เพื่ออำนวยความสะดวก มีการพูดคุยติดต่อสมาชิกในกลุ่มอยู่เสมอ สมาชิกในกลุ่มคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ประสานงานกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานที่คอยสนับสนุนอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้การประสานงานนั้นเป็นไปได้อย่างราบรื่น เช่น การประชุมทุกเดือน การรายงานผลการปฏิบัติงานเพื่อให้ทราบถึงความก้าวหน้าเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการแก้ปัญหา ประเด็นปัญหาและอุปสรรคศักยภาพในการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุน พบว่า มีการขยายแนวคิดจากการเลี้ยงวัวรายเดี่ยวมาเป็นการจัดตั้งเป็นกลุ่มระดับตำบล เปิดเวทีปรึกษาหารือ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคขุน เช่น การลดต้นทุน การผลิตอาหาร การนำพืชท้องถิ่นมาเลี้ยง ช่องทางการจำหน่าย และแนวทางการพัฒนาหรือแปรรรูปในอนาคต และประเด็นแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคศักยภาพในการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงโคขุน พบว่า ควรสร้างการเรียนรู้ให้กับผู้เลี้ยงวัว เช่น การเลือกลูกวัวที่มีคุณภาพจะประสพความสำเร็จในการเลี้ยงได้มากขึ้น หรือถ้าสามารถเลี้ยงแม่วัวให้ออกลูกเอง จะเป็นช่องทางในการสร้างอาชีพเพิ่ม การผลิตอาหารเลี้ยงวัวได้เองด้วยวัตถุดิบในพื้นที่จะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มกำไรให้กับผู้เลี้ยงได้มากขึ้น การรวมตัวกันเป็นกลุ่ม มีแผนการทำกิจกรรมที่ชัดเจน จะทำให้มีศักยภาพในการต่อรองกับพ่อค้าคนกลางหรือร้านจำหน่ายอาหาร และการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายทำให้ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

References

กมลรัตน หลาสุวงษ. (2528). สุขภาพจิตในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรณ.

กรมปศุสัตว. (2555). แผนยุทธศาสตรกรมปศุสัตว. สืบคนเมื่อ 20 มีนาคม 2556, จาก

http://www.planning.dld.go.th / th/ images/ stories/section-5/2556/policy_03.pdf

ปรารถนา พฤกษะศรี. (2548). สาระนารูเกี่ยวกับโคเนื้อ ชุดที่ 1 ยอนรอยวงการโคเนื้อ. นนทบุรี: นีออนบุค มีเดียม.

สมยศ นาวีการ. (2546). การบริหารและพฤติกรรมองค์การ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

สถาบันพระปกเกล้า. (2547). การวัดระดับการบริหารจัดการที่ดี. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

เสรี พงศ์พิศ. (2548). ฐานคิด : จากแผนแม่บทสู่วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: พลังปัญญา.

สังคม ตัดโส. (2541). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) ของผู้ต้องขังใน

ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง. (วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล).

สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการสงเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2548). พระราชบัญญัติสงเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.

กรุงเทพฯ: กรมสงเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31