เภสัชพืชวัตถุที่ปรากฏในตำรายาใบลานภาคอีสาน

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ตำรายาอีสาน สมุนไพร เภสัชพืชวัตถุ ใบลาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยการวิเคราะห์และจัดทำอนุกรมศัพท์สมุนไพร โรค ตำรับยา ที่ปรากฏในเอกสารใบลานอีสาน มุ่งเสนอเฉพาะผลวิเคราะห์เภสัชพืชวัตถุที่ปรากฏในตำราในใบลาน จากข้อมูลปริวรรตถอดแปล จำนวน 12 ฉบับ/ผูก รวมหน้าลานทั้งสิ้น 342 หน้า เมื่อจำแนกความถี่พบเภสัชพืชวัตถุ จำนวน 40 รายการ เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย มีความถี่ระหว่าง 11-30 ครั้ง จำนวน 33 รายการ ความถี่ระหว่าง 31-50 ครั้ง จำนวน 3 รายการ ความถี่ระหว่าง 51-70 ครั้ง จำนวน 2 รายการ ความถี่ระหว่าง 71-90 ครั้ง จำนวน 2 รายการ โดยสามารถจำแนกได้ 7 ประเภท ได้แก่ 1. ผักสวนครัว 2. ไม้เลื้อยเครือเถา 3. ไผ่/หญ้า 4. ไม้ยืนต้น 5. ไม้ล้มลุก 6. ไม้พุ่ม  และ 7. ว่าน/หัว

References

ณรงคคศักดิ์ ราวะรินทร. (2564). การวิเคราะหและจัดทําอนุกรมศัพทสมุนไพร โรค ตํารับยา ที่ปรากฏในเอกสาร

ใ บ ล า น อี ส า น An Analysis and Making of Vocabulary Series of Herb, Diseases, Medical

Recipes Found in the Isan Palm-Leaf Manuscript. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม

อีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิพยวารี สงนอก. (2558). ภาษาและภูมิปญญาทองถิ่นเกี่ยวกับตํารายาพื้นบาน. ใน โครงการประชุมวิชาการ

ระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4” กลุมมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร (น. 759-767).

นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

วีณา วีสเพ็ญ. (2550). ภูมิปญญาพื้นบานอีสานจากวรรณกรรมตํารายา (รายงานการวิจัย). มหาสารคาม: ภาควิชา

ภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร และ โครงการอนุรักษใบลานภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมัย วรรณอุดร. (2558). โรคและยาในตํารายาภาคอีสานและลาว. ใน เอกสารการสัมมนาวิชาการเนื่องในวาระ

ฉลองอายุครบ 96 ปของ ศาสตราจารยประเสริฐ ณ นคร เรื่อง “ภูมิปญญาอาเซียน : เวชศาสตรจารึกและ

เอกสารโบราณ”. ภาษา-จารึก ฉบับที่ 13 ภาควิชาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร (น.

-138). นนทบุรี: เชน ปรินสติ้ง.

อัครพล แสงเงิน และ กังวล คัชชิมา. (2563). แนวทางการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับตํารายาโบราณในไทย. วารสาร

มนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(4), น. 64-81.

อุษา กลิ่นหอม. (2552). การสังคายนาตํารายาพื้นบานอีสาน : กรณีไขหมากไม. กรุงเทพฯ: อุษาการพิมพ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31