การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนจตุราษฎร์พิทยาคม

ผู้แต่ง

  • เลอสันต์ ฤทธิขันธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ชลธิชา บรรดิดตา สาขาวิชาเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • อุไรวรรณ เสียงวังเวง สาขาวิชาเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • จารุมาศ แสงสว่าง สาขาวิชาเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี มัธยมศึกษาปีที่ 1

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนจตุราษฎร์พิทยาคม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ และ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนจตุราษฎร์พิทยาคม จำนวน 21 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนจตุราษฎร์พิทยาคม ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.62/82.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ พบว่า หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บ รายวิชาการออกแบบและเทคโนโลยี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.57, S.D. = 0.48)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). แนวทางการดําเนินงานการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพราว.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน (พิมพครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.

ภูมิศรัณย ทองเลี่ยมนาค. (2563). รับมือการศึกษาในยุค COVID-19 : ความเหลื่อมล้ําและทรัพยากรของผูเรียนจะ

ยิ่งสําคัญ. สืบคนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.the101.world/covid-19-and-

inequality-in-education/

ลักษณภา แกวคําแจง สุขมิตร กอมณี และภูเบศ เลื่อมใส. (2563). การพัฒนาบทเรียนผานเว็บ โดยใชการเรียนรู

แบบโครงงานเปนฐาน เรื่อง การสรางเว็บเพจดวยภาษา HTML สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3.

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแหงชาติ, 12(1), น. 123–136.

เลอสันต ฤทธิขันธ และจารุมาศ แสงสวาง. (2564). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอรชวยสอนแบบมีปฏิสัมพันธ

เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 2 โรงเรียนสาธิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม, 4(10), น. 137–146.

สํานักงานคณะกรรมการแหงชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติพ.ศ. 2542 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2)

พ.ศ. 2545 และ (ฉบบัที่3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สํานักนายกรัฐมนตรี.

ไสว วีระพันธ และธีรภัทร ถิ่นแสนดี. (2564). ความปกติใหมทางการศึกษากับความเหลื่อมล้ําที่มากยิ่งขึ้น.

วารสารวิชาการรัตนบุศย, 3(2), น. 73.

Schwenger.B. (2018). Creating blended learning experiencesrequires more than digital skills.

Retrieved 15 November 2021, from https://ojs.aut.ac.nz/pjtel/article/view/46

Seels, B., and Glasgow, Z. (1998). Making Instructional Design Decisions (2nd ed). NJ: Merrill

Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31