ศึกษาภูมิปัญญาหมี่กระโทก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ภูมิปัญญา หมี่กระโทกบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาหมี่กระโทก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมาการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 5 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า 1. การเรียนรู้เกี่ยวกับการทำหมี่และผัดหมี่กระโทกของคนอำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา เป็นการเรียนรู้ภายในครอบครัว คือ เรียนรู้จากบิดา มารดา และเครือญาติ และส่งต่อความรู้ไปยังลูกหลาน 2. การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา พบว่า 1. มีการปรับใช้เครื่องมือที่ทันสมัยช่วยทุนแรงและสามารถผลิตเส้นหมี่ได้จำนวนมาก ได้แก่ ใช้เครื่องโม่แป้งไฟฟ้า ใช้เครื่องซอยเส้นหมี่ไฟฟ้า 2. มีการรักษาภูมิปัญญาด้านอาหารบางอย่างเกี่ยวกับการผัดหมี่และประยุกต์บางส่วนให้เข้ากับยุคสมัยและค่านิยมของคนบริโภค 3. การสืบทอดภูมิปัญญา มีการสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทำเส้นหมี่ 1 ครอบครัวคาดว่าจะยังสืบต่อไปเนื่องจากสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในครอบครัว ส่วนภูมิปัญญาทางด้านการผัดหมี่ขาดการสืบทอดไปยังลูกหลาน แต่หน่วยงานของรัฐหรือผู้นำชุมชนตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมาได้เล็งเห็นความสำคัญจึงมีการกระตุ้นให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงภูมิปัญญาโดยมีการจัดแสดงหรือแข่งขันเกี่ยวกับการผัดหมี่เป็นประจำทุกปีในงาน “เทศกาลกินหมี่ ประเพณีแห่เทียนพรรษา” และยังให้ครอบครัวนายยวง เที่ยงกระโทก ที่ทำธุรกิจเส้นหมี่กระโทกขายเป็นศูนย์เรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจอีกด้วย
References
ชาญชัย ชมดี. (2556). หมี่พิมาย : ศักยภาพการทองเที่ยว เพื่ออนุรักษอาหารทองถิ่นอยางยั่งยืน. (การศึกษาอิสระ
ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแกน).
ไทยคดีศึกษา. (2561). เสนหมี่ ในวัฒนธรรมการกินของคนไทย. สืบคนเมื่อ 15 กุมภาพันธ 2565, จาก
http://www.thaistudies.chula.ac.th
วัฒนาภรณ โชครัตนชัย. (2554). ตําราอาหารเมืองโคราช. นครราชสีมา : โครงการจัดทําตําราและงานวิจัยเฉลิม
พระเกียรติ 84 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.