การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านการแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสี่ โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุช พานอิ่มมะเริง โรงเรียนเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การแต่งคำประพันธ์ กลอนสี่ รูปแบบการสอนวิธีการแบบเปิด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะในการแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวิธีการแบบเปิด (Open Approach) 2. เพื่อสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะด้านการแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสี่โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน โรงเรียนเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบวิธีการแบบเปิด (Open Approach) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) 

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาทักษะในการแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสี่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวิธีการแบบเปิด (Open Approach) สูงกว่าก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 19.84 คิดเป็นร้อยละ 72.50 ของคะแนนเต็ม สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05          2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะด้านการแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนสี่โดยใช้วิธีการแบบเปิด  (Open Approach) พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวิธีการแบบเปิด (Open Approach) รวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ย 4.33

References

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2545). สาระมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ:

องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิรัฐติพร ชูเมือง และสังเวียน ปินะกาลัง. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ในชั้นเรียน

ภาษาไทยด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเปิด. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 8(3), น. 248-249.

นฤมล อินประสิทธิ์. (2551). การศึกษาบทเรียน (Lesson Study): นวัตกรรมเพื่อพัฒนาครูและนักเรียน Lesson

Study: An innovation for Teacher and Student Development. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุณยนุช ทูรศิลป์และวีรวัฒน์ ไทยขำ. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 1 เรื่องระบบจำนวน

เต็มโดยใช้วิธีการแบบเปิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโกรกพระ. ใน รายงานสืบเนื่อง

จากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 (หน้า 244 - 253). กำแพงเพชร: สถาบันวิจัยมหาลัยวิทยาลัย

ราชภัฏกำแพงเพชร.

ปรียานุช พายุบุตร. (2557). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ เรียนด้วยวิธีการ

แบบเปิด. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2547). การสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิดในชั้นเรียนญี่ปุ่น. KKU Journal of

Mathematics Education, 11(1), น. 1-17.

ลัดดา ศิลาน้อย. (2548). ปัญหาปลายเปิด (Open Approach) ในนวัตกรรมการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม

ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. วารสารคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 29(1), น. 24-34.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี–สฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รายงานสรุปผลการสัมมนาระดมความคิดเรื่องการติดตามและ

ประเมินผลการปฏิรูปการศึกษา: การบริหารละการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-16