วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลนครนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมองค์กร, ประสิทธิภาพ, การปฏิบัติงานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับวัฒนธรรมองค์กรของบุคลากรเทศบาลนครนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา รวมทั้งเพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลนครนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมาตลอดจนเพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลนครนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลนครนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้าง จำนวน 320 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามโดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์ มีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และสรุปข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับวัฒนธรรมองค์กรของบุคลากรเทศบาลนครนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลนครนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณวัฒนธรรมองค์กร 3 ด้าน คือ วัฒนธรรมเอกภาพ วัฒนธรรมการปรับตัว และวัฒนธรรมพันธกิจส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลนครนครราชสีมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R2) เท่ากับ 0.675 และสามารถร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 67.50 4) แนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลนครนครราชสีมา พบว่า ด้านคุณภาพของงาน ควรจัดหลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีอย่างสม่ำเสมอ ด้านปริมาณงาน ควรเน้นการวิเคราะห์และจัดสรรภาระงานอย่างเป็นระบบ โดยพิจารณาความเหมาะสมของอัตรากำลังคน ด้านเวลา ควรการกำหนดระยะเวลามาตรฐานในการปฏิบัติแต่ละภารกิจ และด้านค่าใช้จ่าย ควรจัดทำแผนงบประมาณที่รัดกุม การวิเคราะห์ต้นทุนและค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ
References
กนก เพ่งจินดา. (2566). วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การภาครัฐ: กรณีศึกษาสำนักงานเขตบางกะปิ.
Journal of Management and Local Innovation, 5(7), น. 253-264.
กนกรัตน์ คุ้มบัว. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการจดทะเบียนธุรกิจศึกษา กรณีศึกษา โครงการ
ส่งเสริมประสิทธิภาพกรมทะเบียนการค้า. (รายงานการวิจัย). สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ศูนย์ หนังสือจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
กิตติ์รวี เลขะกุล. (2562). ธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของเทศบาล ในเขตภาคใต้
ของประเทศไทย. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 2(5), น. 593–612.
คนางค์ ภูถมดี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานความภักดีต่อองค์กรกับ ประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงานของพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดมหาสารคาม(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
จงรักษ์ มีอุสาห์. (2551). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด
กำแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร)
จิรประภา อัครบวร. (2549). สร้างคนสร้างผลงาน. กรุงเทพฯ : ก. พลพิมพ์.
ชนิดา จิตตรุทธะ. (2561). วัฒนธรรมองค์การ: ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ชุติภาส ชนะจิตต์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานของ
พนักงานบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมบางชัน (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธนบุรี).
เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2565). การศึกษาเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจนเนอเรชั่นวายในมุมมองต่อ คุณลักษณะของ
ตนเองและความคาดหวังต่อคุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นอื่น. Creative Business and Sustainability
Journal, 36(3), น. 1–17.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิติพล ภูตะโชติ. (2559). พฤติกรรมองค์การ.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุษกร วัชรศรีโรจน์. (2561). วัฒนธรรมองค์กร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ปาริชาติ เงินสม. (2566). ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัด กองคลัง เทศบาล
นครลำปาง. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(10), น. 53.
ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยและสถิติทางสังคมศาสตร์เบื้องต้น. คณะรัฐศาสตร์ และรัฐประศาส
ศาสตร์.มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พิชญา วัฒนรังสรรค์. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 4 ดาว ย่านสยามส
แควร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พินิจตา คำกรฤชา, ภณิตา สุนทรไชย และนิศารัตน์ โชติเชย. (2560). วัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อ ประสิทธิภาพการ
ทำงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติประจำจังหวัด ในเขต
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์., 6(4), น. 214-224 วสุนธรา รตโนภาส และตรรกพร สุขเกษม. (2565). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนในเขต พื้นที่ตำบลคลองพิไกร อำเภอ
พรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 16(1), น. 58-61.
ภาวิณี ดีสุข. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครูศูนย์ พัฒนาเด็ก
เล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสระบุรี. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช
มงคลธัญบุรี).
ไมตรี เนติวิริยะกุล. (2567). วัฒนธรรมองค์การและการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่มีผลต่อสัมฤทธิผล การดำเนินงานของ
สำนักงานอัยการภาค 4. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 4(2), น. 487–506.
รัฐพล สุขประเสริฐ. (2565). อิทธิพลของสุขภาพองค์การ และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การ
จัดบริการสาธารณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัด สกลนคร. วารสาร
วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(2), น. 1-16.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอักษรเจริญ
ทัศน์ อจท.จำกัด.
ลักษณชัย ธนะวังน้อย. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการ ปฏิบัติงาน
ของพนักงานเครือเบทาโกร. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วสันต์ เหลืองประภัสร์ (2560). การวิจัยเชิงคุณภาพ: หลักการและวิธีการ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันชัย มีชาติ. (2548). พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาดา คุปตานนท์. (2551). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ: เทคนิคการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยรังสิต.
วิเชียร วิทยอุดม. (2560). การจัดการสมัยใหม่. นนทบุรี: วิทยอุดมสาส์น
วิทยาธร ท่อแก้ว. (2564). การสร้างวัฒนธรรมองค์กร. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2566, จาก
วิทยาธร ท่อแก้ว. (2564). การสื่อสารเพื่อสร้างความนิยมของผู้นำทางการเมืองท้องถิ่น. วารสารอัล-ฮิก มะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี. 18(1). น. 197-210.
ศิริพงษ์ ฐานมั่น. (2556). การจัดการต่างวัฒนธรรม. ปทุมธานี. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลย
อลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. 2542. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุภวรรณ คงเสมา, สุภาษา บุญยงค์ และกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2566). ปัญหาและอุปสรรคในการ ปฏิบัติ
ตามกฎหมายว่าด้วยการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมของ เจ้าหน้าที่ของรัฐ. วารสาร มจร
สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), น. 1-33.
ศุภวรรณ คงเสมา, สุภาษา บุญยงค์ และกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2566). วัฒนธรรมองค์กร : เงื่อนไข สำคัญของ
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(12), น. 368-380.
ศุภวัฒน์ คูธนพงศ์. (2560). อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนขององค์การที่มีต่อการปฏิบัติงานตาม วัฒนธรรม
องค์การของพนักงานที่ปฏิบัติงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยมีความไว้วางใจต่อ องค์การและความผูกพันต่อ องค์การเป็นตัวแปรส่งผ่านและทุนทางจิตวิทยาเป็นตัวแปรกำกับ. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพ: บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2562). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในราชการพลเรือน : คู่มือสมรรถนะ
หลัก. นนทบุรี: บริษัทประชุมช่าง จำกัด.
สำนักงานเทศบาลนครนครราชสีมา. (2566). การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนา ของเทศบาล
นครนครราชสีมา. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567, จาก www.koratcity.go.th
สิริภาพรรณ ลี้ภัยเจริญ. (2564). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภมาส อังศุโชติ. (2566). เทคนิคการวิเคราะห์ความสัมพันธระหว่างตัวแปร. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567,
จาก https://shorturl.asia/1tMDl
อรรถวิท ชื่นจิตต์. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงาน
ของพนักงานบริษัทเอกชนรุ่นเจเนอเรชันวายในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
อรอนงค์ ส่งสุพร. (2559). ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชนครินทร์
อลงกรณ์ มีสุทธา และสมิต สัชณุกร. (2555). การประเมินผลการปฏิบัติงานการประเมินโดยใช้ Competency.
(พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น).
อัซวาน เส็น และคณะ. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงาน เทศบาลนครยะลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 14. น. 1121- 1136.
อัญญ์ชิสา ภัทรศิริวรัชยา. (2564). วัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ พนักงาน
มหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(2). น. 333-346.
ธีรเดช ชีพชัยอิสสระ. (2563). ปัจจัยด้านวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการทำงานของพนักงานเอกชน กรณีศึกษาพนักงานเอกชน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง).