ศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขันแก้ว ตำบลโคกสาร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ
คำสำคัญ:
ศักยภาพ การจัดการ วิสาหกิจชุมชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาศักยภาพการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขันแก้ว ตำบลโคกสาร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ 2. เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขันแก้ว ตำบลโคกสาร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ และ 3. เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขันแก้ว ตำบลโคกสาร อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม ได้แก่ 1. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 คน 2. ประธานกลุ่มวิสาหกิจ จำนวน 1 คน 3. รองประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 1 คน 4. สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจ จำนวน 7 คน 5. ผู้นำชุมชน จำนวน 4 คน และ 6. ประชาชน จำนวน 6 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 20 คน แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสาร วรรณกรรมและแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาประเด็นศักยภาพการจัดการวิสาหกิจชุมชน พบว่า ผู้นำมีศักยภาพในการจัดการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีวางแผนการทำงานและการแบ่งหน้าที่การทำงานไว้ชัดเจน โดยเน้นให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน รวมทั้งมีส่วนร่วมในด้านการจัดสรรรายได้ ประเด็นปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พบว่า ขาดความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานและขาดการวิเคราะห์สภาพการตลาด ผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จักมาก ช่องทางการจำหน่ายสินค้าไม่กว้างขวาง และประเด็นแนวทางการแก้ไขแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคการจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พบว่า ควรมีการพัฒนาด้านการผลิตให้ทันสมัย พัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มีการติดตามและประเมินผลการทำงาน การควบคุมการผลิตสินค้าให้ตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค และด้านการตลาดมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
References
เฉลิมพล แจมจันทร และ สวรัย บุญยมานนท. (2556). บทบาทของเศรษฐกิจสรางสรรคในการพัฒนาสังคมและ
ชุมชนไทย. วารสารเศรษฐศาสตรปริทรรศน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.
ธงชัย สันติวงษ. (2538). องคการทฤษฎีและทฤษฎีและการออกแบบ. กรุงเทพฯ: แมเนจเมน เซ็นเตอร บางกอก.
บารโทล และ มารทีน. (2534). การจัดการ. นิวยอรก: แมคกรอว – ฮิลล.
เยาวลักษ ศิริสุวรรณ. (2539). ศักยภาพเทศบาลเมืองนครปฐมในการจัดการศึกษาดานอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ:
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร.
เลิศวิโรจน โกวัฒนะ. (2561). วิสาหกิจชุมชนแฟร 2018 เสริมฐานรากเขมแข็งสรางเศรษฐกิจ ชุมชน. สืบคนเมื่อ
มกราคม 2565, จาก https://www.ryt9.com/ s/prg/2787712.
สโตเนอร และฟรีแมน. (2535). การจัดการ. นิวเจอรซีย: ฮองกง.
สมยศ นาวีการ. (2538). การบริหาร. กรุงเทพฯ: ดอกหญา.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ. (2560). สรุปสาระสําคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแหงชาติ. สืบคนเมื่อ 25 มกราคม 2565, จาก https://www.ryt9.com/s/prg/2787712.
สุกัลยา กรรณสมบัติ. (2543). ศักยภาพของมัคคุเทศกตอการเปนผูนําในการทองเที่ยวเชิงนิเวศ. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยมหิดล.
เสรี พงศพิศ และคณะ. (2547). “การสรางแนวทางความรวมมือดานการวิจัยภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชน
เพื่อเสริมสรางยุทธศาสตรทางปญญาในการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย.
เสรี พงศพิศ และคณะ. (2544). วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพภูมิปญญาไทย.
อนันต เกตุวงศ. (2543). หลักการและเทคนิคการวางแผน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.
Koontz, H. & C. O’Denell. (1982). Principle of Management : An Analysis of Management
Function (5th ed). New York: McGraw-Hill