ผลกระทบการพัฒนาการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย ที่มีผลต่อประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ผลกระทบการพัฒนาการเมือง ระบอบประชาธิปไตย ประชาชน นครราชสีมา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของการพัฒนาการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อประชาชน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของผลกระทบของการพัฒนาการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อความขัดแย้งทางการเมืองของประชาชน และเพื่อวิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของประชาชน พื้นที่ศึกษา คือ จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร              

ผลการศึกษาพบว่า 1. ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ระบบการค้าต่างประเทศของไทยที่เป็นระบบผูกขาดโดยเจ้าและขุนนางได้กลายเป็นเรื่องของการค้าเสรี สังคมไทยเปลี่ยนจากการมี เจ้า-ขุนนาง-ไพร่-ทาส กลายเป็น เจ้า-ข้าราชการ-ราษฎร และมีสิ่งที่เรียกว่า “ชนชั้นกลาง” แทรกอยู่ตรงกลาง ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ นับจากนี้ไปจึงพบว่ามีผู้เข้ามามีบทบาททางการเมือง ในนครราชสีมามักจะไม่ใช่ผู้ที่มีพื้นฐานสืบตระกูลในท้องถิ่น หรือกลุ่มขุนนางที่สะสมอำนาจกันมานานตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่เป็นข้าราชการหรือพ่อค้าที่สะสมความมั่งคั่ง 2. การเห็นภาพความขัดแย้งของคนในสังคมมาโดยตลอด อาทิ ความขัดแย้งของคนเสื้อเหลือง เสื้อแดง หรือการที่ตนใช้สิทธิใช้เสียงทางการเมืองในการเลือกตั้ง แต่พรรคที่ตนเลือกกลับถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรค สภาพสังคมเศรษฐกิจที่เหลื่อมล้ำสูง ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ข้อมูล ข่าวสารที่แพร่กระจายเพียงเสี้ยวนาที การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้การเติบโตของเด็ก รุ่นใหม่แตกต่างไปจากคนรุ่นก่อน ที่ไม่อาจนิ่งเฉยหรือไม่ตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมที่ส่งผลกระทบต่อตัวพวกเขาเองโดยตรงได้ 3. การใช้บทบาทของผู้นำชุมชนในระดับท้องถิ่น ในการสร้างความสมานฉันท์ตั้งแต่ระดับชุมชน เป็นตัวการในการเปลี่ยนแปลง ทัศนคติ ค่านิยม และความเข้าใจที่ถูกต้องของแนวทาง “สันติวิธี” ทั้งนี้ สถานการณ์ความรุนแรงในอดีตที่ผ่านมานี้จะกลายเป็น “ครู” ที่เก็บไว้สอนเยาวชนรุ่นหลังให้ศึกษา เรียนรู้ เพื่อมิให้ “กงล้อแห่งประวัติศาสตร์ความแตกแยกในสังคมไทย ได้เกิดขึ้นอีก”

References

กันย ชโลธรรังษี. (2564). การตอบสนองของปญญาชนอีสานตอการเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตย พ.ศ. 2475-ล

สืบคนเมื่อ 22 มิถุนายน พ.ศ.2564, จาก

http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/35696

ณัฏฐิรา กาญจนศิลป. (2561). ฐานทัพอเมริกันกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของนครราชสีมา. วารสารวิจัยราชภัฏ

กรุงเกา, 5(3), น. 103-111.

เดลินิวส. (2558). หวิดปะทะ กปปส.โคราช กดดัน นปช. รับสมัคร อพปช. สืบคนเมื่อ 20 ส.ค.2558, จาก

http://www.dailynews.co.th/regional/221471

ไทยรัฐ. (2564). 4 มหาวิทยาลัยในโคราช นักเรียน ประชาชน รวมพลังทวงคืนประชาธิปไตย. สืบคนเมื่อ 20 พ.ค.

, จาก https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/1896816

ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตรและศิลปแหงการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: อมรินทรพริ้นติ้ง

แอนดพับลิชชิ่ง.

ชาญวิทย เกษตรศิริ. (2551). ประวัติการเมืองไทยสยาม พ.ศ. 2475-2500 (พิมพครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มูลนิธิ

โครงการตําราสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร.

นิตยสาร Way. (2564). เพราะความฝนของเราตางกัน : คนรุนใหมและคนรุนกอนกับทัศนคติที่สวนทาง. สืบคน

เมื่อ 22 มิถุนายน พ.ศ.2564, จาก https://waymagazine.org/what-is-the-difference-between-

the-old- generation-and-this-generation/[].

ประภาส ปนตบแตง. (2541). การเมืองบนทองถนน 99 วัน สมัชชาคนจน และประวัติศาสตรการเดินขบวน ชุมนุม

ประทวงในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนยวิจัยและผลิตตํารา มหาวิทยาลัยเกริก.

ผาสุก พงษไพจิตร และคณะ. (2545). วิธีชีวิต วิธีสู : ขบวนการประชาชนรวมสมัย. เชียงใหม: ตรัสวิน

(ซิลคเวอรมบุคส).

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2564). พลวัตความขัดแยงทางการเมืองของไทย: ขุนนาง ทหาร นายทุน และ

ประชาชน. สืบคนเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2564, จาก

https://mgronline.com/daily/detail/9570000057637

มณีมัย ทองอยู. (2546). การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจชาวนาอีสาน กรณีศึกษา ชาวนาลุมน้ําพอง. กรุงเทพฯ:

สรางสรรค.

วันชัย วัฒนศัพท. (2550). ความขัดแยง: หลักการและเครื่องมือแกปญหา. ขอนแกน: ศิริภัณฑออฟเซ็น.

เศรษฐวัฒน โชควรกุล. (2560). นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกลา.

สถาบันพระปกเกลา. (2559). ประชาธิปไตยในทศวรรษใหม. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกลา.

สุเนตร ธนศิลปะพิชิต และคณะ. (2564). แบบแผนกระบวนการสรางอํานาจทางการเมืองภาคประชาชนในภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการเมืองการปกครอง, 11(2), น. 1-14.

สุพัตรา จิตตเสถียร. (2553). การแกไขปญหาความรุนแรงทางการเมืองของไทย: พบทางตันจริงหรือ. วารสาร

สถาบันพระปกเกลา, 8(1), น. 28-38.

สํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจําจังหวัดนครราชสีมา. (2564). ประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส. 24 มีนาคม

สืบคนเมื่อ 5 มิถุนายน 2564, จาก https://www.ect.go.th/nakhonratchasima/

ewt_news.php?nid=1490&filename=index. [].

เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท. (2556). ปฏิสัมพันธระหวางรัฐ ขบวนการและขบวนการโตกลับ: งานวิชาการตามจารีต

การศึกษาแบบขบวนการทางสังคมและการเมืองในระดับสากล. วารสารสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร,

(2), น. 7-60.

Harvey, David. (2007). A Brief History of Neoliberalism. Oxford: Oxford University Press.

Huntington, Samuel P. and Dominguez, Jorge. (1975). Political Development. In F. Green stein and

N. Polsby eds. Macropolitical Theory, Handbook of Political Science Vol.3. Mass: Addison

Wesley.

Pye, Lucian. (1966). Aspects of Political Development. Boston: little, Brown and Compa

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30