การศึกษาการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนที่มีต่อการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ ของนักศึกษาศิลปะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • บุศรินทร์ คำหุ่ง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การใช้สมาร์ทโฟน การสร้างสรรค์ ทัศนศิลป์ นักศึกษาศิลปะ

บทคัดย่อ

สมาร์ทโฟนเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตในด้านต่าง ๆ รวมถึงการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของนักศึกษาศิลปะการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของนักศึกษาสาขา ศิลปะ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา และ 2. เพื่อศึกษาการใช้สมาร์ทโฟนในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ของนักศึกษาศิลปะ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 สาขาวิชาศิลปศึกษา และสาขาวิชาทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 180 คน และอาจารย์ศิลปะ 4 คน เครื่องมือวิจัยเป็น 1. แบบสอบถามที่ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ (IOC) ที่ระดับ 0.97 และ 2. แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

          ผลการวิจัยพบว่า มีนักศึกษาที่ตอบแบบสอบถาม 175 คน ส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟนเพื่อสืบค้นข้อมูลในกิจกรรมการศึกษาด้านทัศนศิลป์  Facebook เป็นทั้งช่องทางที่นักศึกษาใช้สมาร์ทโฟนติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ และเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและแชร์ผลงานมากที่สุด www.google.com เป็นช่องทางสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์มากที่สุด ฟังก์ชันหลักบนสมาร์ทโฟนที่นักศึกษาใช้เพื่อการสร้างสรรค์มากที่สุดคือ ถ่ายภาพ ส่วนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่นักศึกษานิยมใช้ค้นหาภาพเพื่อสร้างสรรค์มากที่สุดคือ Pinterest แอปพลิเคชันที่นักศึกษาใช้ในการวาดหรือร่างภาพมากที่สุดคือ Sketch Book และแอปพลิเคชันที่นักศึกษาใช้ปรับแต่งภาพหรือแก้ไขภาพมากที่สุดคือ PicsArt Photo Studio  

          การใช้สมาร์ทโฟนในกระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ของนักศึกษาพบว่า นักศึกษาใช้สมาร์ทโฟนขั้นการสร้างแรงบันดาลใจและสร้างแนวคิดในการสร้างสรรค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.00) ขั้นการร่างภาพและพัฒนาแบบโดยรวมในระดับปานกลาง ( =3.40) ขั้นการสร้างสรรค์ผลงานจริงโดยรวมใช้ในระดับมาก ( =3.95)  และในขั้นการนำเสนอผลงานโดยรวมใช้ในระดับปานกลาง ( =3.04) ส่วนกลุ่มอาจารย์มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าสมาร์ทโฟนมีประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ผลงานและการศึกษาทัศนศิลป์

References

กนกรัตน จงเรืองทรัพย. (2559). พฤติกรรมและปจจัยที่มีผลตอการตัดสินใจในการเลือกฟงเพลงผานโมบาย

แอปพลิเคชันในกลุมวัยรุน. (การคนควาอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ชัชวาล จักษุวงศ. (2560). 11 แอปพลิเคชันที่เราวาโคตรรดีสําหรับคนสายดิจิตอลอารต. สืบคนเมื่อ 23 กรกฎาคม

, จาก https://www.gqthailand.com/toys/article/app-for-digital-art.

วารสารชัยพฤกษภิรมย คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ปที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม–มิถุนายน 2565)

ณรงคฤทธิ์ เหลาวณิชยวัฒนา. (2560). PicArt Photo Studio สุดยอดแอปแตงรูปและสรางภาพ Collage

สุดสวย เครื่องมือครบ. สืบคนเมื่อ 13 เมษายน 2564, จาก www.iphonmod.net/picart-photo-

studio-ios- app free-download.html.

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2559). พฤติกรรมการใชสมารทโฟนในชั้นเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย.

สุทธิปริทัศน, 30(95), น. 49.

ธีระชัย สุขสวัสดิ์. (2561). จิตรกรรมไทยจะมีทิศทางเปนอยางไรในยุคดิจิทัล. สืบคนเมื่อ 26 มกราคม 2563,

จาก https://www.komchadluek.net/news/knowledge/342063.

นันทพงศ วรวงศสุจริต และคณะ. (2560). การใชระบบปฏิบัติการสมารทโฟนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ

นครราชสีมา (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตสาขาวิชาคอมพิวเตอรธุรกิจ

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

พัชญสิตา เหลี่ยมทองคําและ นมิดา ซื่อสัตยสกุลชัย. (2561). พฤติกรรมการใชสื่อสังคมออนไลนของนักศึกษาใน

รายวิชาปฏิสัมพันธระหวางมนุษยกับคอมพิวเตอร. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติดานนวัตกรรม

เพื่อการเรียนรูและสิ่งประดิษฐครั้งที่ 2 ประจําป 2561. (หนา 115-123). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

พิชยา วัฒนะนุกูล และวาสนา ผิวขม. (2560). พฤติกรรมและปจจัยการใชสมารทโฟนในกลุมวัยรุน. (วิทยานิพนธ

ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแกน).

ลลิต วิสุทธิโสภณ. (2560). ศิลปะภาพถายและกระบวนการทางวิทยาศาสตรของ โทชิยูกิคุวาบาระ. Veridian

E-Journal, Silpakorn University, 10(2), น. 3073.

สถิติพยากรณ,กอง. (2561). สรุปผลที่สําคัญ: การสํารวจการมีการใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใน

ครัวเรือน พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ สํานักงานสถิติแหงชาติ.

สุรพล วิรุฬหรักษ. (2555). ทําอยางไรใหศิลปะเปนวิชาการ: การสรางมาตรฐานวิชาการ. กรุงเทพฯ: สํานัก

คณะกรรมการการวิจัยแหงชาติ.

อินทนท ปญญาโสภา. (2561). Pinterest Social mediaแหงความคิดสรางสรรคศิลปะและการเรียนรู. สืบคน

เมื่อ 25 พฤษภาคม 2563, จาก www.rainmaker.in.th/pinterest-social-media-for-creativit

Akbari , Ehsan. (2019). Smartphone connect art art students to sights and sounds of Montreal

Retrieved 16th April 2021, from https://theconversation.com/smartphones-connect-

artstudents-to-sights-and- sounds-of-montreal-108819

Artashyan, Argam. (2020). Global Brower Wars: Google Chrome dominates with 69.18% share.

Retrieved 17th April 2021, from https://www.gizchina.com/2020/05/05/global-browser-

wars-..google-chrome-dominates- with-69-18-share/.

Education 4.0. (2016). Education 4.0 Learning era for innovation. Retrieved 2th December

, from https.//drive.google.com/file/d/BwWHYRUkUKybMm5FaE0wOFTanM.

วารสารชัยพฤกษภิรมย คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ปที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม–มิถุนายน 2565)

QuistS. C. & QuarshieH. O. (2016). The Use of Mobile Phones among Undergraduate Students-a

Casein Ghana. Retrieved 17th April 2021, from

https://www.researchgate.net/publication/303723828.

Flesher, Sarah. (2016). The Top Benefits and Challenges of Mobile Learning. Retrieved 19th April

, from https://www.skillbuilderlms.com/top-benefits-challenges-mobile- learning

Simon, Kemp. (2020). Digital 2020 : Global Digita Overview. Retrieved 19th April 2021, from

https://datareportal.com/reports/digital-2020-global-digital

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30