การออกแบบระบบคลินิกการวิจัย วัดและประเมิน เพื่อพัฒนาสมรรถนะการวิจัย ของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยทางไกลในประเทศไทย การวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยที่ใช้การทดลองกับการศึกษาแบบพหุกรณี
คำสำคัญ:
คลินิกการวิจัย วัดและประเมิน บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ การศึกษาทางไกลบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อออกแบบระบบคลินิกการวิจัย วัดและประเมิน 2) เพื่อทดลองใช้และประเมินผลระบบคลินิกการวิจัย วัดและประเมิน สำหรับพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยทางไกลในประเทศไทย และ 3) เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านสมรรถนะการทำวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยทางไกลในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างงานวิจัยที่ใช้การทดลองกับงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบพหุกรณีศึกษา ระยะที่ 1 ออกแบบระบบคลินิกการวิจัย วัดและประเมิน ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความตรงเชิงเนื้อหาและความเหมาะสมของระบบแล้ววิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหา ระยะที่ 2 ทดลองใช้ ประเมินผลระบบ และศึกษาพัฒนาการด้านสมรรถนะการทำวิจัยการทดลองกลุ่มเล็ก ABA design การสัมภาษณ์ การสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล และการสำรวจความพึงพอใจ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบคลินิกการวิจัย วัดและประเมิน มีกระบวนการแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน คือ (1) การเข้าถึงการบริการ (2) การประเมินและคัดกรอง (3) การคัดแยกผู้เข้ารับบริการ (4) การให้บริการตามสภาพปัญหา (5) การทำนัด/จองคิว และติดตามผล และ (6) งานวิจัยระเบียน ผลการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน พบว่า ค่าความตรงเชิงเนื้อหารายข้อ (I-CVI) อยู่ในช่วง .80 – 1.00 และค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหารายฉบับ (S-CVI) เท่ากับ .95 2) ผลการทดลองใช้ระบบกับผู้ใช้บริการ 8 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำวิจัยและกลุ่มที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัย กลุ่มละ 4 คน พบว่าผู้ใช้บริการคลินิกทั้ง 2 กลุ่มมีสมรรถนะการทำวิจัยที่ดีขึ้นตามศักยภาพของตนเองโดยมีหลักฐานความก้าวหน้าเป็นที่ประจักษ์
คำสำคัญ: คลินิกการวิจัย วัดและประเมิน บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ การศึกษาทางไกล
References
นรีรัตน์ สุเมผา และปิยธิดา อภิรักษ์สัตยา. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการทำวิจัยจากงานประจำของบุคลากรสายสนับสนุน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารสาระคาม. 8(2): 48-62.
นุชรีย์ บวชชุม และยวงทอง พุ่มแก้ว. (2555). แนวทางการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. วารสารจันทรเกษมสาร. 18(34): 33-41.
ปาลีรัตน์ การดี. (2559). แนวทางการส่งเสริมการทำวิจัยด้านการศึกษาทางไกล มหาวิทยาลัยทางไกล. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (E-Jodil). 6(1). https://e-jodil.stou.ac.th.
ปิยวรรณ บุญเพ็ญ, ยุทธนา ไชยจูกุล, ดุษฎี โยเหลา. (2561). สมรรถนะวิจัยและตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัยให้ประสบความสำเร็จ : กรณีศึกษานักวิจัยในมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ. วารสารเกษมบัณฑิต. 19(1): 73-88.
วรรณะ บรรจง. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของเอกลักษณธ์นักศึกษาครูและการรับรู้ ความสามารถของตนในการเป็นครูนักวิจัยที่มีพฤติกรรมครูนักวิจัยของนักศึกษาครูใน ยุคปฏิรูปการศึกษา. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 14(1): 117-134.
สมเกียรติ แก้วเกาะสะบ้า และศิริรัตน์ จำแนกสาร. (2567). การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยทางไกลในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 22(1): 95-110.
อรอุมา รุ่งเรืองวณิชกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะครูนักวิจัยด้วยการบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ สำหรับข้าราชการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การศึกษาผู้ใหญ่). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อุดมลักษณ์ บำรุงญาติ. (2554). การพัฒนาศักยภาพการวิจัยของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.(รายงานการวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Alpay, E., & Walsh, E. (2008). A skills perception inventory for evaluating postgraduate transferable skills development. Assessment & Evaluation in Higher Education, 33(6): 581-598.
Böttcher, F. & Thiel, F. (2017). Evaluating research-oriented teaching: a new instrument to assess university students’ research competences. Higher Education. 75(1): 91-110. DOI:10.1007/s10734-017-0128-y.
Buisman-Pijlman, J. W. F. (2016). PhD prepared: research skill development across the undergraduate years. International Journal for Researcher Development, 7 (1): 63 – 83. Chickering, A. W. & Reisser, L. (1993). Education and identity. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Evans, L. (2012). Leadership for Researcher Development: What Research Leaders Need to Know and Understand. Educational Management Administration & Leadership, 40(4): 423–435.
John, Joanna and Creighton, John (2011) Researcher development: the impact of undergraduate research opportunity programmes on students in the UK. Studies in Higher Education, 36 (7): 781-797. doi: https://doi.org/10.1080/03075071003777708
McIntyre E., Brun L., Cameron H., Lyle D. (2010). Evaluation of the Researcher
Development Program (RDP) of the Primary Health Care Research Evaluation and Development (PHCRED) Strategy: The Fellows’ perspective. (Primary Health Care Research & Information Service: Adelaide). Available at: http://www.phcris.org.au/publications/catalogue.php?elibid=8328
OECD. (2013). Transferable skills training for researchers-supporting career. Development World Science Forum, 24-27 November 2013, Rio.
Polit, D. F., Beck, C. T., & Owen, S. V. (2007). Is the CVI an acceptable indicator of content validity? Appraisal and recommendations. Research in nursing & health, 30(4), 459-467.
Swank, J.M., & Lambie, G.W. (2016). Development of the Research Competencies Scale. Measurement and Evaluation in Counseling and Development, 49(2): 91 –108. DOI: 10.1177/0748175615625749
Vitae. (2010). Researcher Development Framework: Summary of the Analysis of Consultation Responses. available at: ww.vitae.ac.uk/CMS/files/upload/Vitae-RDF-consultationanalysis-may-2010.pdf (accessed 6 October 2011).
Weston, T. J., & Laursen, S. L. (2015). The Undergraduate Research Student Self-Assessment (URSSA): Validation for Use in Program Evaluation. CBE—Life Sciences Education, 14, 1–10.
Whipple E. E., Hughes, A.,& Bowden, S. (2015). Evaluation of a BSW Research Experience: Improving Student Research Competency. Journal of Teaching in Social Work, 35(4), 397-409.
Yarullin, F. (2015). The Research Competence Development of Students Trained in Mathematical. Mathematics Education, 10(3), 137-146.