แนวทางการพัฒนาสมรรถนะนักทรัพยากรบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, นักทรัพยากรบุคคล, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะนักทรัพยากรบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะนักทรัพยากรบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปฏิบัติงานด้านการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาในตำแหน่งนักทรัพยากรบุคคลหรือผู้รักษาราชการแทน จำนวน 152 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสมรรถนะนักทรัพยากรบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา มีผู้ให้ข้อมูล จำนวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า ระดับสมรรถนะนักทรัพยากรบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 4 ด้าน และอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการยึดมั่นในความถูกต้องและจริยธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และด้านการคิดวิเคราะห์มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับส่วนแนวทางการพัฒนาสมรรถนะนักทรัพยากรบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า 1) นักทรัพยากรบุคคลควรศึกษากฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับให้ทันสมัยอยู่เสมอ 2) นักทรัพยากรบุคคลควรพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง 3) นักทรัพยากรบุคคลควรเรียนรู้แบบเปิดกว้างตลอดจนเรียนรู้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับงานทรัพยากรบุคคลให้ทันสมัยอยู่เสมอ
References
คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล. (2566). อำนาจหน้าที่. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2566, จาก http://local.moi.go.th/2009/agenciesinfo/P01_05.php
คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารบุคคลส่วนท้องถิ่น. (2558). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการ บริหารบุคคลส่วนท้องถิ่น. ราชกิจจานุเบกษา, 132 (ตอนพิเศษ 36 ง).
จิราภรณ์ พงษ์วาปี. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักปลัดเทศบาล เทศบาลเมืองหนองคาย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร.วิทยาเขตอีสาน, 2(2), น. 35-42.
เจริญ ภูสุวรรณ. (2566). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของพนักงานในเทศบาลเมืองเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา)
ณัฐดาวรรณ มณีวร. (2561). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของพนักงานเทศบาลตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ)
ดวงฤทัย ศรีมุกข์. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)
ทิวาพร พรหมจอม. (2018). ประสิทธิผลการปฏิบัติตามสมรรถนะหลักของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร. Journal of Graduate School Sakon Nakhon Rajabhat University, 15(71), 97-106.
ธีรพล เจริญสุข. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรกรมสรรพสามิตในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพระนครศรีอยุธยา).
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นงลักษณ์ หวานฉ่ำ. (2565). การพัฒนาขีดสมรรถนะพนักงานจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. PNRU Academic Journal, 1(1), 1-15.
เนตรา เพ็ชรแสง. (2565). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของข้าราชการธุรการ สำนักงาน อัยการในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Mahachula Academic Journal, 9(3), 59-76.
ปวีณา สุกัน. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในเขต อำเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(1), น. 28-38.
ปิยะดา พิศาลบุตร, จิราวรรณ คงคล้าย และเฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน. (2559). แนวทางการเพิ่มขีด ความสามารถขององค์การด้านการพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์. Veridian E-Journal Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(1), น. 1115-1326.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2566). การเรียนรู้เชิงรุกเสริมสร้างสมรรถนะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพร ตาตะมิ. (2564). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในเทศบาลเมืองศิลา จังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร.วิทยาเขตอีสาน, 2(2), น. 1-8.
ศิริลักษณ์ สุขขาว. (2564). สมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลารสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
เสน่ห์ จุ้ยโต. (2560). การพัฒนาทักษะการจัดทำแผนงานและเทคนิคการบริหารงานโครงการ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อรทัย ก๊กผล. (2564). รายงานสถานการณ์การกระจายอำนาจ ประจำปี พ.ศ. 2564: บทสำรวจว่าด้วย บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการวิกฤติโควิด-19. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.
เอกชัย สุมาลี. (2563). นวัตกรรมการบริหาร กับการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.
Glaveanu, V. P., Pedersen, A. R., & Antonsen, M. (2020). Creativity in organizations: Concepts, processes, and practice. Routledge.
Sharma, A., Garg, R., & Jindal, M. (2021). Human resource development: Issues, challenges, and perspectives in the public sector. Public Administration Review, 81(3), 475-487.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rded.). Harper and Row.