ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ความต้องการศึกษาต่อ, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มครูหรือบุคคลากรทางการศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้วในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด ยโสธร กาฬสินธุ์ และอำนาจเจริญ จำนวน 51 คน ได้มาจากการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบมี 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความต้องการศึกษาต่อ จำนวน 4 ข้อ ด้านสิ่งสนับสนุนที่ท่านต้องการในการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 2 ข้อ และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่ท่านพิจารณาในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 12 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.93 การวิเคราะห์ข้อมูลร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- ด้านข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 58.80) สังกัดสถานศึกษาของรัฐ อายุ 24-28 ปี (ร้อยละ 94.10) สถานภาพการศึกษาส่วนใหญ่ สำเร็จการศึกษาแล้วและทำงานแล้ว (ร้อยละ 76.50) สำเร็จการศึกษา 1-2 ปี (ร้อยละ 74.50) และส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ (คิดเป็นร้อยละ 72.50)
- ด้านความต้องการศึกษาต่อ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (ร้อยละ 94.10) โดยมีเป้าหมายเพื่อต้องการต่อยอดองค์ความรู้ในหัวข้อ/สาขาที่สนใจ (ร้อยละ 76.50) ช่วงเวลาที่เห็นว่าเหมาะสมสำหรับการศึกษาต่อหลังจากทำงานแล้ว 1-2 ปี (ร้อยละ 47.10) และวุฒิการศึกษาของปริญญาที่ต้องการเมื่อสำเร็จการศึกษา คือ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนภาษาไทย) (ร้อยละ 58.80)
- ด้านสิ่งสนับสนุน ส่วนใหญ่ตอบว่า ต้องการได้รับทุนอุดหนุนการศึกษาทั้งหมด (ค่าธรรมเนียม/ทำวิทยานิพนธ์/ค่าครองชีพ) (ร้อยละ 60.00) และด้านรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมส่วนใหญ่ตอบว่า เรียนในชั้นเรียน ร่วมกับการทำวิทยานิพนธ์เต็มเวลาที่คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ (แบบ ก2) (ร้อยละ 37.25)
- ด้านปัจจัยที่จะส่งผลให้ตัดสินใจศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยงสูงสุด คือ ความน่าสนใจของหลักสูตร (ค่าเฉลี่ย 4.92) รองลงมา คือ ค่าใช้จ่ายต่อเทอม (ค่าเฉลี่ย 4.86) ดังนั้นการเปิดหลักสูตรการศึกษาจึงควรคำนึงถึงการออกแบบหลักสูตรที่ทันสมัย น่าสนใจต่อผู้เรียน
References
คณะครุศาสตร์. (2565). เกี่ยวกับคณะครุศาสตร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565. เข้าถึงได้จากhttp://edu.reru.ac.th/?p=154
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2555). เอกสารประกอบการชุมวิชาการประจำปี2555 เรื่อง “ฝ่าวิกฤติอุดมศึกษา ไทย”. กรุงเทพฯ : สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
ชุติมา สัจจานันท์. (2554). การวิจัยระดับบัณฑิตศึกษากับการพัฒนา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 11(4), 1-8.
ณัฐฌา ขำศิริ, มัทรี วรรณชัย, และนุชนาถ พันธุราษฎร์. (2566). การศึกษาการรับรู้การจัดทำหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2565 กรณีศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น. โครงการวิจัยจากสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีงบประมาณ 2566.
ทัศนีย์ ชาติไทย. (2555). รายงานการวิจัยเรื่อง แรงจูงใจและความต้องการในการศึกษาต่อระดับ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. นนทบุรี: สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ประสาร ศรีพงษ์เพลิด, ปริญ รสจันทร์, ทิพย์สุดา ปรีดาพันธ์, อัธยา เมิดไธสงค์, เกศินี ศรีวงษา, คชษิณ สุวิชา, และปริเยส พรหมประสิทธิ์. (2566). ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. การประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 22 “ชีวิตวิถีใหม่ของการศึกษาในสังคมดิจิทัล” : 313-324
พัชราภา ตันติชูเวช และคณะ. (2564). “ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.” วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีที่ 9, ฉบับที่ 36 (กรกฎาคม-กันยายน): 30-49.
ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). (2561). สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักวิชาการและประมวลผล. (2565). สถิติผู้สำเร็จการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://academic.reru.ac.th/2020/Home.php
เสกสรรค์ สนวา. (2564). “ความต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร. วิทยาเขตอีสาน ปีที่ 2, ฉบับที่ 1 (เดือนมกราคม – เมษายน) : 1-12.