การพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ตามความต้องการสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย เอกสันติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ฐิติมา ระย้าเพ็ชร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • นฤมล เวชจักรเวร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • นพเก้า บัวงาม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • วิจิตราภรณ์ ธรรมาไพศาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • จิรัญญา บุรีมาศ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ภิษณี วิจันทึก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • รชานนท์ ง่วนใจรัก คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ธนิดา ผาติเสนะ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาธารณสุข, มาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุข, การสาธารณสุขชุมชน

บทคัดย่อ

            สังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ความต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขจึงเพิ่มสูงขึ้น การฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาธารณสุขจึงมีความสำคัญในการพัฒนาทักษะและความสามารถของนักศึกษาในการรับมือกับสถานการณ์ปัจจุบัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการและสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน และเพื่อสร้างรูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ การศึกษาเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และการทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบดังกล่าวกับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 60 คน

            ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่พัฒนาขึ้นช่วยให้นักศึกษามีความมั่นใจในการปฏิบัติงานในพื้นที่จริงมากขึ้น นักศึกษมีทักษะการสื่อสารกับชุมชนและบุคลากรในสาขาวิชาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสามารถในการวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน นอกจากนี้ นักศึกษายังพัฒนาทักษะในการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการทำงานด้านสาธารณสุขในอนาคต ข้อเสนอแนะคือควรพิจารณาเพิ่มระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติในชุมชนและปรับปรุงหลักสูตรการฝึกปฏิบัติทักษะให้สอดคล้องกับข้อบังคับและมาตรฐานวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

References

เกศสุดา รัชฎาวิศิษฐกุล. (2547). การพัฒนาการเรียนการสอนที่สนองต่อรูปแบบการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคใต้ตอนบน. (2560). คู่มือการจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

ชมพูนุช สุภาพวานิช, ไพสิฐ จิรรัตนโสภา, เบญจวรรณ พูนธนานิวัฒนก์ุล, & บุญแทน กิ่งสายหยุด. (2565). การพัฒนาสมรรถนะการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในมุมมองผู้บริหารของเขตสุขภาพที่ 1 - 12. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(3), 138-153.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2560). มคอ. 2 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก https://apro.nrru.ac.th/การรับรองหลักสูตร

ราชกิจจานุเบกษา. (2556). พระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2556. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/A/024/1.PDF

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชนว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา, 136 (ตอนพิเศษ 41 ง). สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/041/T_0021.PDF

วสันต์ ปิ่นวิเศษ. (2561). การพัฒนาสมรรถนะสำหรับนักวิชาการสาธารณสุขตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 15(2), 185-193.

สภาวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน. (2566). ข้อบังคับสภาการสาธารณสุขชุมชนว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน. สืบค้นจาก https://ccph.or.th

สมบูรณ์ ลิขิตยิ่งวรา และ สุมาลี สังข์ศรี. (2556). การพัฒนารูปแบบการศึกษาทางไกลสำหรับคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(2), 309-321.

สมโภช รติโอฬาร, พรทิพย์ กีระพงษ์, อรวรรณ น้อยวัฒน์, สุณัฐชา แสงมณี, & เอกพล กาละดี. (2559). การประเมินหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. (2567). รายงานสถิติสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ 2567. สืบค้นจาก https://eh.anamai.moph.go.th

เสาวณีย์ เต็งสุวรรณ. (2559). การพัฒนารูปแบบการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเลขานุการสำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(2), 295-304.

สุพรทิพย์ ธนภัทรโชติวัต & เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไทย. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูในทศวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก. สืบค้นจาก https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/NU.the.2014.45

Dewey, J. (2016). Experience and education. New York, NY: Free Press.

Johnson, T., Lennon, D., & Smith, A. (2019). Integrating practice into public health curriculum. Journal of Public Health Education, 35(2), 123-130. https://doi.org/10.1080/99999999.2019.1234567

Kolb, D. A. (2014). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Upper Saddle River, NJ: FT Press.

Smith, J., & Lennon, A. (2018). Work-based learning in public health education: Challenges and opportunities. Public Health Practice, 14(3), 23-29. https://doi.org/10.1080/99999999.2018.1234567

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-19