การประยุกต์ใช้กระบวนการความคิดเชิงออกแบบเพื่อเป็นเครื่องมือใหม่ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์การในประเทศไทย: ทำอย่างไรและได้อะไร?

ผู้แต่ง

  • ณัฐนรินทร์ เนียมประดิษฐ์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • สุปัญญดา สุนทรนนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

กระบวนการความคิดเชิงออกแบบ, การบริหารการเปลี่ยนแปลง, เครื่องมือใหม่ในการบริหารองค์การ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันทั้งการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) และกระบวนการความคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ต่างเป็นแนวคิดสำคัญที่องค์การต่าง ๆ ให้ความสนใจนำมาศึกษาและประยุกต์ใช้เพื่อการบริหารจัดการองค์การให้สามารถปรับตัวและอยู่รอดได้ภายใต้บริบทและสถานการณ์ต่าง ๆ ขององค์การที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว บทความวิชาการนี้ จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่ออธิบายถึงแนวคิดและหลักการสำคัญของกระบวนการความคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่ออธิบายถึงวิธีการนำกระบวนการความคิดเชิงออกแบบในฐานะเครื่องมือใหม่ในการบริหารจัดการองค์การ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ในองค์การ          ต่าง ๆ โดยเฉพาะองค์การภายใต้บริบทในประเทศไทยและเพื่ออธิบายถึงกรณีศึกษา รวมทั้งชี้ให้เห็นถึงคุณประโยชน์สำคัญที่เกิดขึ้นจากการประยุกต์ใช้กระบวนการความคิดเชิงออกแบบในการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์การ เพื่อให้เกิดความเข้าใจแก่ผู้ที่สนใจศึกษา เกิดประโยชน์ในการต่อยอดองค์ความรู้สำหรับนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารในองค์การต่าง ๆ ในการมีทางเลือกสำหรับการนำเครื่องมือและเทคนิคใหม่ ๆ เพื่อนำไปปรับใช้ในการวางแผนและดำเนินการบริหารการเปลี่ยนแปลงของหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นต่อไป

References

Ash, P. (2011). Fast and Effective Change Management, Asian Development Bank Annual

Summary. Tokyo: Asian Development Bank.

Brown, T. (2009). Change by Design. New York: Harper Collins.

Chilton, B. (2010). Employee Change Readiness and the Success of Planned Change. Master’s

thesis, Pepperdine University.

Hiatt, J. M. (2006). ADKAR: a model for change in Business, Government and our Communit.

New York: Prosci Learning Center.

Kotter, J. P. (2008). A Sense of Urgency. Boston: Harvard Business School.

Lange, J. O. (2015). The Design Process: What is the Double Diamond?. Retrieved 18 April

, from

http://www. designcouncil.org.uk/ news-opinion/ design-process.

Manopattanakul, S. (2015). Design Thinking. Design Business Journal, 12(7), pp. 22-29.

Stanford D. School. (2008). Design Thinking Model. Retrieved 8 January 2021, from

http://dschool.stanford.edu/dgift/.

Suntornnond, S. (2015). The Influence of Transformational Leadership, Human Resource

Development and Readiness for Change on Job Performance of Employees

Autonomous Universities. Punyapiwat Journal, 7(2), pp. 28-42

TCDC. (2017). Return happiness to patients using service design: the further steps of Bamrungraj

International Hospital. Retrieved 15 November 2020, from

http//:www.tcdc.or.th/articles/others/21956

Thaipost Editor. (2019). Crisis of Thai Universities. Retrieved 1 November 2021, from

https://www. thaipost.net/main/detail/27747

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30