กรอบความคิดกับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พรไพลิน บัวทอง สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
  • ในตะวัน กำหอม สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

กรอบความคิด, ผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติงาน, การบริหารการศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับกรอบความคิดของบุคลากรทางการศึกษา 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกรอบความคิดกับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร การวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณแบบสำรวจ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างจากบุคลากรทางการศึกษา 385 คน ตามสูตรของ Krejcie และ Morgan (1970) และใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค ได้ค่า 0.89 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบความคิดของบุคลากรทางการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความสัมพันธ์กับบุคคลในที่ทำงานอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาคือด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และด้านความรู้และความเข้าใจในงานที่ทำ ส่วนด้านที่มีระดับต่ำสุดคือด้านการทำงานเป็นทีม 2) ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาคือด้านผลการประเมินประจำปี 3) กรอบความคิดของบุคลากรทางการศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กฤษดา เชียรวัฒนสุข และคณะ. (2560). แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่แจ้งวัฒนะ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 29-43.

ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ความสัมพันธ์ระหว่างกรอบคิดติดยึดและการรับรู้ความสามารถแห่งตนของนักเรียนนายร้อย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเรืออากาศ, 10, 20–32. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KANNICHA/article/view/258997

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.

มุทิตา อดทน. (2561). ศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดเติบโตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 182-194.

อภิชยา จรรยาศรี. (2566). มรรรถนะของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานของครูตามมาตรฐานวิชาชีพครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อังศวีร์ เครือแก้ว. (2562). กรอบความคิด กับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บุคลากรสายสนับสนุนภายใต้สำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. การค้นคว้าอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. คณะคณะรัฐศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7135

Dweck, C.S. (2012). Mindset: How You Can Fulfil Your Potential. Constable & Robinson, London.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Tijdschrift voor Onderwijsresearch, 2(2), 49–60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/30/2025

How to Cite

บัวทอง พ., & กำหอม ใ. (2025). กรอบความคิดกับผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันพอดี, 2(4), 21–32. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/IS-J/article/view/1607