อัตลักษณ์ภาษาลาวครั่ง ผ่านการนำเสนออย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ณ ศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอพื้นเมืองโบราณลาวซี - ลาวครั่ง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

รัตนชัย ปรีชาพงศ์กิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ภาษาลาวครั่ง ตำบลป่าสะแกและตำบลบ่อกรุ จังหวัดสุพรรณบุรี 2) รักษาองค์ความรู้ภาษาลาวครั่ง 3) เผยแพร่อัตลักษณ์ภาษาลาวครั่ง ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพจากกลุ่มเป้าหมาย คือ ชาวบ้านตำบลป่าสะแกที่พูดภาษาลาวซีและชาวบ้านตำบลบ่อกรุที่พูดภาษาลาวครั่ง จำนวน 20 คน ซึ่งวิธีการเก็บข้อมูลใช้ 1. การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม 2. แบบเก็บข้อมูลทางภาษาภาคสนาม 3. การสัมภาษณ์เชิงลึกจากชาวบ้าน ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสังเคราะห์เขียนรายงานวิจัยเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) อัตลักษณ์ภาษาลาวครั่ง ตำบลป่าสะแก และตำบลบ่อกรุ จังหวัดสุพรรณบุรี มีอัตลักษณ์ร่วมกัน คือ ความเหมือนกันของระบบเสียงและคำ ทั้งยังมีความเกี่ยวข้องกันทางเครือญาติและมีการติดต่อกันระหว่างสองชุมชนอย่างสม่ำเสมอ 2) การเก็บรวบรวมคำศัพท์ สามารถเก็บรวบรวมคำศัพท์ภาษาลาวครั่ง ได้จำนวน 255 คำ 3) การเผยแพร่อัตลักษณ์ภาษาลาวครั่งผ่านสื่อวีดิทัศน์สารคดี จัดทำสื่อวีดิทัศน์สารคดีผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชนและเผยแพร่อัตลักษณ์ลาวครั่งของคนในชุมชน การวิจัยในครั้งนี้จึงเป็นประโยชน์ในการสร้างความตระหนักรู้ถึงอัตลักษณ์ภาษาลาวครั่งของชุมชนบ้านทุ่งก้านเหลือง ตำบลป่าสะแก และชุมชนบ้านบ่อกรุ ตำบลบ่อกรุ จังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากนี้ การจัดทำสื่อวีดิทัศน์สารคดียังเป็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาและภาษาลาวครั่งได้อีกทางหนึ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Akharawatthanakun, P. (2003). Changes in tone: A study of Lao languages. (Doctoral dissertation). Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Chativong, J. (1986). A study of the characteristics of the Lao Krang language at Huai Duan Subdistrict, Don Tum District, Nakhon Pathom Province. (master's thesis). Bangkok : Silpakorn University. http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Jinda_Chativong/Abstract.pdf (in Thai)

Karaveg, C. , Poonsombath, S. & Hemthong, W. (2019) Development and Design of Women’s Workwear Made from the Pha Sin Tin Jok of Lao Khrang in Borkru Villages, Suphanburi Province. Art and Architecture Journal Naresuan University, 10(2), 98-113. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ajnu/article/view/131429/159380 (in Thai)

Kititharakul, S. (1996). Relationship between community closeness and lexical choice of the Lao Khrang community at Ban Nong Kraphi, Tambon Ban Luang, Amphoe Don Tum, Nakhon Pathom. (master's thesis). Bangkok: Chulalongkorn University. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47717 (in Thai)

Pinno, K., Kahakitkoson, A., Attanathawong, A. & Chaisaengchan, A. (2011). Language and communication. Bangkok : Department of Oriental Languages, Faculty of Archeology, Silpakorn University.

Phakdeephasuk, S. (2018). The relationship between language and identity and approaches to studying the Thai language. Bangkok : Academic Work Dissemination Project Faculty of Arts Chulalongkorn University. (in Thai)

Rujimora, J. (2011). Research report on the development of local museums to promote educationl Creativity studies : Lao Si - Lao Krang traditional weaving learning center Suphanburi Province. Nakhon Pathom : Silpakorn University. (in Thai)

Songsiri, W. (2013). Restoring the power of cultural diversity in society. Bangkok: Foundation Lek-Prapai Wiriyaphan. (in Thai)

Watcharaphon, W. (1991). A study of word endings in the Lao Khrang language. (master's thesis). Bangkok: Mahidol University. (in Thai)

Wattanaprasert, K. & Liamprawat, S. (1988). Research report on the Lao language sound system of Tha Chin River Basin. Nakhon Pathom : Silpakorn University. (in Thai)