การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ณ นคร อุทิศ” โดยกิจกรรมการสร้างภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติ

Main Article Content

ปิยาพัชร สายชล
สุดา เจ๊ะอุมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ณ นคร อุทิศ” หลังจัดกิจกรรมการสร้างภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติ และเพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ก่อนและหลังจัดกิจกรรมการสร้างภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติจากวัสดุธรรมชาติ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กนักเรียนชายและหญิง ที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565  โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ณ นคร อุทิศ” โดยใช้วิธีการแบบเจาะจงจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการสร้างภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติ 2) กิจกรรมการสร้างภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติ 3) แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังทำกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ dependent sample


ผลวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ณ นคร อุทิศ” หลังจัดกิจกรรมประมาณสองในสามมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับดี แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมการสร้างภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนั้น ส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีขึ้นได้จริง 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ หลังการทดลองมีค่าคะแนนประกอบด้วย ด้านความคิดริเริ่ม อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}=2.57 S.D.= 0.36) ด้านความคิดยืดหยุ่น อยู่ในระดับดี(gif.latex?\bar{x}=2.67 S.D.= 0.37) ด้านความคิดคล่องแคล่ว อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}=2.50 S.D.= 0.36) ด้านความคิดละเอียดลออ อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}=2.70 S.D.= 0.33) หลังการจัดกิจกรรมต่างจากก่อนจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์. (24 มิถุนายน 2555). การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์. https://www.gotoknow.org/posts/324059?fbclid=IwAR2keoDn8FCFXVABoG

นุชจณี อู่ทอง และอัฐณีญา สัจจะพัฒนกุล.(2565). การส่งเสริมพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมือมัดเล็กของเด็กปฐมวัย โดยใช้ชุดกิจกรรมการฉีก และการปะ. ในสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร(บ.ก.), บัณฑิตของพระราชา พัฒนาชุมชนท้องถิ่นก้าวไกล ด้วยงานวิจัยสร้างสรรค. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 2. (น.415-424). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. https://research.kpru.ac.th/research2/pages/filere/1650168904.pdf

ปริยานุช พรหมร่วมแก้ว (2559). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่มเพื่อพัฒนา พฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านควนเสม็ด [รายงานผลการวิจัย, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ]. http://www.ska2.go.th/reis/data/research/25640702_211346_7602.pdf

ฟาตีฮะห์ เหล็กดี. (2555). ศิลปะกับเด็กปฐมวัย. https://sites.google.com/site/babysmileclub1/silpa-kab-dekภาวิณี โตสำลี และณัฐ การะเกตุทิญาภรณ์. (2563). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์. (รายงานผลการวิจัย).

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

วิจารณ์ พานิช. (2556). สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ:โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อนิวัฒน์ ทองสีดา. (16 กรกฎาคม 2564). กิจกรรมศิลปะเครื่องมือพัฒนาเด็กปฐมวัย. https://bsru.net/%E0%B8%81%E0%B8%B4