การประเมินโครงการปลูกฝังต้นกล้าคุณธรรม โรงเรียนเกาะสมุย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินปฏิกิริยาความพึงพอใจของนักเรียน 2) ประเมินความรู้ของนักเรียน 3) ประเมินพฤติกรรมของนักเรียน และ 4) ประเมินผลลัพธ์ความพึงพอใจของครูที่เกิดต่อสถานศึกษา มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 15 คนและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 169 คนโรงเรียนเกาะสมุย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ
ผลการวิจัยโดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ พบว่า 1) ผลการประเมินปฏิกิริยาความพึงพอใจของนักเรียน คะแนนเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการประเมินความรู้ของนักเรียน คะแนนเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินพฤติกรรมของนักเรียน คะแนนเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) ผลการประเมินผลลัพธ์ความพึงพอใจของครูที่เกิดต่อสถานศึกษาอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียน คะแนนเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
References
ตวงพร กตัญญุตานนท์ และ กมลทิพย์ รัตนสุวรรณาชัย. (2562). ผลของการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมต่อระดับคุณธรรมจริยธรรมของ นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 25(1), 33-34.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ
นายิกา จันทร์ยิหวา. (2560). รูปแบบการส่งเสริมจริยธรรมนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. กรุงเทพฯ: วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 11(2), 51-70.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุษกร วัฒนบุตร. (2560). กลยุทธ์การปลูกฝังจิตสำนึกด้านคุณธรรมจริยธรรมสู่การพัฒนาคุณภาพ ชีวติที่ยั่งยืน ของสถาบันการศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(1), 43-44.
พรพิทักษ์ เห็มบาสัตย์และวรรณพล พิมพะสาลี. (2562). แนวทางการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในสังคมไทย. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 9(2), 66-67.
พระมหาชานนท์ ชัยมงคล. (2561). การศึกษาการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเกริก] Krirk University. https://mis.krirk.ac.th/librarytext/ED/2561/F_Chanon_%20%20Chaimongkol.pdf
พระอนุสรณ์ กิตฺติวณฺโณ และคณะ. (2562). ยุทธศาสตร์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ตามหลักไตรสิกขา. วารสารธรรมวิชญ์(การประชุมสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติ), 2(2), 365-375.
ศิรินทร์ทิพย์ ศิริภักดิ์. (2561). กระบวนการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านแวงประชารัฐบำรุง [รายงานการวิจัยนักศึกษาระดับปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]. http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2561/M126137/Siripak%20Sirintip.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. ฉบับที่ 13. (พ.ศ.2566-2570). กรุงเทพมหานคร:ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงศึกษาธิการ.
ฤทธิพล ไชยบุรี. (2562). การดำรงตนในสังคมด้วยคุณธรรม จริยธรรม. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), 171-179.