ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบคูณ หารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดล

Main Article Content

จิรัชยา ใจสู้ศึก
ปวีณา ขันธ์ศิลา
ประภาพร หนองหารพิทักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบคูณ หารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดลกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดล 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวนนักเรียน 26 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนกุดสิมวิทยาสาร อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องเศษส่วน จำนวน 5 แผน แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่า t-test แบบ Dependent


ผลวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เทคนิคบาร์โมเดลสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบาร์โมเดลอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ.2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลนันท์ กลิ่นสุวรรณ และสมวงษ์ แปลงประสพโชค. (2562). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้และการฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาอย่างสม่ำเสมอด้วยบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร: สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 14(1), 58-71.

เกริกเกียรติ กุลจรัสอนันต์ และสายัณห์ โสธะโร. (2561). การศึกษาความสามารถในการสร้างสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวจากโจทย์ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีบาร์โมเดล. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(2), 93-100.

ฉัตรกาญจน์ ธานีพูน และนงลักษณ์ วิริยะพงษ์. (2561). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเลขคณิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับบาร์โมเดล. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ราชนก บรรหาร, สิรินาถ จงกลกลาง และอิสรา พลนงค์. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาร่วมกับบาร์โมเดล.วารสารราชพฤกษ์, 19(1), 99-108.

ศิริลักษณ์ ใชสงคราม และศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2563). การพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหา คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค TGT ร่วมกับบาร์โมเดล (Bar Model). วารสารการจัดการนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(6), 245-258.

ศรันย์ เปรมปรีดา. (2557). การพัฒนาชุดฝึกทักษะในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยทฤษฎีบาร์ โมเดลสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขา หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี]. Dhonburi Rajabhat University Intellectual Repository. http://cms.dru.ac.th/jspui/handle/123456789/164

BanHar, Yeap; et al. (2008). Using a Model Approach to Enhance Algebraic Thinking in the Elementary School Mathematics Classroom. Algebra and algebraic thinking in school mathematics. National Council of Teachers of Mathematics. Reston Virginia, USA.