ภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพื้นที่พิเศษ จังหวัดตาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพื้นที่พิเศษ จังหวัดตาก ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการมีความเห็นอกเห็นใจในการปฏิบัติงาน ด้านการมีความสามารถในการสื่อสาร และด้านการสร้างความไว้วางใจ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนพื้นที่พิเศษ จังหวัดตาก ในปีการศึกษา 2565 จำนวน 62 คน โดยเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพื้นที่พิเศษ จังหวัดตาก ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการมีความเห็นอกเห็นใจ ในการปฏิบัติงาน รองลงมาคือ ด้านการสร้างความไว้วางใจ ด้านการมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการมีความสามารถในการสื่อสาร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
References
กนกอร สมปราชญ์. (2560). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(34), 51-66.
ณัฐรัฐ ธนธิติกร. (2555). ภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรม : สุดยอดภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ.วารสารศึกษาศาสตร์, 23(2), 1-10.
ธิดารัตน์ องค์การ. (2559). การศึกษาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. CUIR at Chulalongkorn University. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/54942
นนกร มังคละศิริ. (2560). ภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/161757.pdf
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
พัชราภรณ์ จันทรโคตร, ดาวรุวรรณ ถวิลการ และวัลลภา อารีรัตน์. (2561). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล. วารสารแสงอีสาน, 15(2), 12–25.
รัชพล แสงสว่าง. (2558). การพัฒนาภาวะผู้นําข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยศรีปทุม]. Knowledge Bank at Sripatum University. http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5422
วรพงษ์ วรรณราม. (2562). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา : การวิจัยผสมผสานวิธี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สิทธิชัย สุนทรพินิจ. (2561). โมเดลการพัฒนาองค์การนวัตกรรมของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท ไม่ได้ตีพิมพ์).มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุกัญญา ศรีแก้ว. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำข้ามวัฒนธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Thomas, G. (2006). Cross-Cultural Leadership. [Doctoral dissertation, School of Property, Construction and Project Management Royal Melbourne Institute Technology University].