ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องเซตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องเซตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิดกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) ศึกษาความพึงพอใจที่ต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี จำนวน 35 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) จำนวน 3 แผน แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องเซต แบบอัตนัยจำนวน 3 ข้อ แบบสอบถาม ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอน คือ จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) หลังจากนั้นวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง เซต และสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยใช้ , S.D. และสถิติทดสอบ One Sample T-testผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยวิธีการแบบเปิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิดโดยภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57,S.D.= 0.53)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
References
ตติมา ทิพย์จินดาชัยกุล. (2557). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Open Approach) ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่องทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2544). กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยใช้การแก้ปัญหาปลายเปิดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ].
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2545). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์.(2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. ขอนแก่น : เพ็ญพรินติ้ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุมสาระกรเรียนรู้คณิตศาสตร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
อรุณี ภูถมดี และ แสงเดือน คงนาวัง. (2564). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องเซต ด้วยวิธีการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทร่วมกับชุดฝึกอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 1041-1049.
อรรพถล บุญเรืองศรี และ สมจิตรา เรืองศรี. (2563). การวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกลุ่มสหวิทยาเขตเบญจสิริ เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Isoda, M., & Nakamura, T. (2010). Mathematics Education Theories for Lesson Study: Problem Solving Approach and the Curriculum through Extension and Integration. Journal of Japan Society of Mathematical Education. EARCOME5.
Nohda, N. (2000). Teaching by Open-Approach Method in Japanese Mathematics Classroom. Proceedings of the Conference of the International Group for the Psychology of Mathematics Education (PME). July 23-27, 2000. Hiroshima, Japan.
Polya, G. (1957). How to Solve It. A New Aspect of Mathematical Method. 2nd Edition, Princeton University Press, Princeton.