การพัฒนารูปแบบการบริหารตามแนวคิดของไคเซ็น (Kaizen) เพื่อส่งเสริม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการบริหารตามแนวคิด
ของไคเซ็น (Kaizen) เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดสระแก้ว 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารตามแนวคิดของไคเซ็น 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหาร และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหาร กำหนดวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการบริหารตามแนวคิดของไคเซ็น2) การสร้างรูปแบบการบริหารตามแนวคิดของไคเซ็น 3) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารกับกลุ่มตัวอย่าง และ 4) การประเมินรูปแบบการบริหาร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร 1 คน ครูผู้สอน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนวัดสระแก้ว 97 คน และผู้ปกครองนักเรียน 97 คน รวม 212 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินรูปแบบการบริหารการวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการบริหารตามแนวคิดของไคเซ็น อยู่ในระดับมาก 2) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารตามแนวคิดของไคเซ็น พบว่า รูปแบบมีความสอดคล้องและความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารมีผลการประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนอยู่ในระดับดีเลิศ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม 4) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความถูกต้อง และมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
References
จารุวัฒน์ เนตรนิ่ม. (2560). “การปรับปรุงกระบวนการการบริหารสินค้าคงคลังโดยใช้ทฤษฎีไคเซ็น กรณีศึกษา:คลังเครื่องแต่งกาย”, กรมยุทธบริการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 8(1), 96-110.
จิตตินันท์ ดีหลาย. (2561). การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนไสวนันทวิทย์ จังหวัดตราด.การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.
บุญยกุล หัตถกี. (2556). รูปแบบการบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนขนาดเล็ก[วิทยานิพนธ์ กศ.ด. การบริหารการศึกษา ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา].
พนิดา หวานเพ็ชร. (2555). การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยใช้แนวคิดไคเซ็น : กรณีศึกษาแผนกบัญชีค่าใช้จ่าย.[วิทยานิพนธ์ บธ.ม. การจัดการวิศวกรรมธุรกิจ ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี].
ไมตรี บุญทศ. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อการประกันคุณภาพภายในที่ส่งผลต่อคุณภาพ โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ ค.ด. บริหารการศึกษา อุบลราชธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี].
โรงเรียนวัดสระแก้ว. (2562). รายงานประจำปีของสถานศึกษา (Self-Assessment Report: SAR) ปีการศึกษา 2562. นครศรีธรรมราช: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 โรงเรียนวัดสระแก้ว.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2560). TQM คู่มือพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์.
วิทยา ตันสุวรรณนนท์. (2550). การพัฒนาระบบคุณภาพ การปรับปรุงด้วย “ไคเซ็น”. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2552). คู่มือดำเนินกิจกรรม 5ส โครงการส่งเสริมผลผลิตราชการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
สมชัย จรรยาไพบูลย์. (2555). รูปแบบการพัฒนาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 [วิทยานิพนธ์ ค.ด.บริหารการศึกษา อุบลราชธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี].
สมยงค์ แก้วสุพรรณ. (2552). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผลเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา [วิทยานิพนธ์ ปร.ด. ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม].
สมาพร ลี้ภัยรัตน์, ธานี เกสทอง และนันทิยา น้อยจันทร์. (2560) รูปแบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับประถมศึกษา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(100), 261-273.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: บริษัท21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.
สุทัศน์ เมืองมนประเสริฐ. (2558). ความสัมพันธ์ของกิจกรรมไคเซ็นแบบกลุ่มควบคุมคุณภาพกับจำนวน ผลผลิต, จำนวนของเสีย และทัศนคติการทำงานเป็นทีม: กรณีศึกษาบริษัท ทียูดับบลิว เท็กซ์ไทล์ จำกัด.[วิทยานิพนธ์ บธ.ม. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร].
สุภรัตน์ พูนสวัสดิ์. (2559). การเพิ่มประสิทธิภาพการทางานของแผนกเอกสารขาออก กรณีศึกษาสายเรือแห่งหนึ่งในเขตพื้นที่แหลมฉบัง [งานนิพนธ์ วท.ม. การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา].
สุลภัส เครือกาญจนา. (2552). เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยไคเซ็น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น.
Bamkin, S. (2016). Moral Education at Japanese elementary school. London: Winston Churchill Memorial Trust.
Patimah, S. (2017). Leadership Styles, Motivation Achievers and Quality in Cultural Teaching. European Research Studies Journal, 3A, 278-290.