การพัฒนาชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช

Main Article Content

วิบุล พิชัยยุทธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง ลำดับและอนุกรม 3) ประเมินทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการใช้ชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 33 คน ซึ่งจัดชั้นเรียนแบบคละความสามารถ ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ใช้แบบแผนการทดลองแบบ The One-Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ลำดับและอนุกรม 3) แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้ชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.47/80.51 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความรู้ เรื่อง ลำดับและอนุกรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม อยู่ในระดับดี และ 4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชฎาพร ภูกองชัย. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4 (2), 93-101.

ชานนท์ ปิติสวโรจน์. (2557). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โจทย์ปัญหาการบวกและการลบโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.วารสารบัณฑิตวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 8(1), 57-69.

นงลักษณ์ ฉายา. (2558). การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านยาง “คุรุราษฎร์รังสรรค์” [วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์].

มุทิตา กฤชอาคม. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง].

โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก. (2564). แบบสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562-2563 งานวัดและประเมินผลการศึกษา กลุ่มบริหารงานวิชาการ โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก. นครศรีธรรมราช: เทศบาลนครนครศรีธรรมราช.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

อมินตา หลุมนา. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของโพลยาร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยมและเศษส่วน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม].

Maslow, A. H. (1954). Motivation and Personality. New York: Harper and Brother. Polya, G. (1957). How to Solve it. New York: Doubleday & Company.